ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 3) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 4) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรตัวอย่างจำนวน 170 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test และ F-test และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s product moment correlation coefficient โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต่อลักษณะของงานโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีระดับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน ในด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา ด้านความภาคภูมิใจในอาชีพอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพการทำงาน และมีความพึงพอใจ ด้านการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับน้อย การทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ที่แตกต่างกันมีความเห็นและความพึงพอใจต่อลักษณะงานไม่แตกต่างกัน ยกเว้นคุณสมบัติด้านตำแหน่งงานที่มีความพึงพอใจในลักษณะงานแตกต่างกัน ส่วนระดับความรู้ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”