การจัดการระบบการสัญจรในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของระบบสัญจร ขีดความสามารถสูงสุดในการรองรับยานพาหนะภายในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปริมาณการใช้ประโยชน์ปัจจุบัน ตลอดจนความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เกี่ยวกับระบบการสัญจรภายในอุทยานแห่งชาติ โดยทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของระบบสัญจร เก็บข้อมูลปริมาณรถบนถนนสายหลัก-รอง และลานจอดรถ 9 แห่ง ในช่วงวันหยุดเทศกาลและวันเสาร์-อาทิตย์ และใช้แบบสอบถามความคิดเห็นนักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้ประโยชน์ถนนสายรองไปน้ำตกเหวสุวัต และถนนสายหลัก 2090 (ด่านปากช่อง) หนาแน่นที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางสายอื่นๆ ทั้งในช่วงเทศกาล และวันเสาร์-อาทิตย์ โดยมีปริมาณรถสูงสุดในช่วงเทศกาล ค่าเฉลี่ย 275 และ 270 คัน/ชั่วโมง ตามลำดับ และช่วงเวลาที่มีการใช้ถนนดังกล่าวมากที่สุดคือ ระหว่างเวลา 12.01-13.00 น. ระบบสัญจรภายในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ถูกจำกัดด้วยปริมาณที่จอดรถภายในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งสามารถรองรับยานพาหนะได้ทั้งสิ้น 1,216 คัน/ครั้ง หรือโดยเฉลี่ย 1,387 คัน/ชั่วโมง ลานจอดรถที่มีปริมาณการใช้ประโยชน์สูงสุดคือ ลานจอดรถพื้นที่ลานกางเต็นท์ลำตะคอง เฉลี่ย 1,281 คัน/วัน ในช่วงเทศกาล แต่ลานจอดรถที่มีปัญหาเกินขีดความสามารถในการรองรับได้คือ ลานจอดรถผาเดียวดาย สำหรับลานจอดรถแห่งอื่นๆ มีปัญหาปริมาณที่จอดรถไม่เพียงพอบ้างในวันหยุดเทศกาล แต่พบไม่บ่อยครั้ง สำหรับนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ส่วนใหญ่เห็นด้วยในการจำกัดความเร็วในการขับขี่ กำหนดขนาดของยานพาหนะ กำหนดจุดจอดรถที่เหมาะสมและไม่ให้จอดบนไหล่ทาง ข้อเสนอแนะในการจัดการระบบสัญจรในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่คือ จัดให้มีรถบริการนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และประชาสัมพันธ์เรื่องกฎระเบียบการใช้ยานพาหนะและการจอดรถในอุทยานแห่งชาติ
คำสำคัญ: การสัญจร ขีดความสามารถในการรองรับ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”