การประเมินความหนาแน่นประชากรนกเงือก ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

พรกมล จรบุรมย์
วิจักขณ์ ฉิมโฉม
อนรรฆ พัฒนวิบูลย์
พิไล พูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การประเมินความหนาแน่นแบบ distance sampling โดยวิธี point transects เป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ประเมินประชากรนกเงือกอย่างเข้มข้นในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง การศึกษาครั้งนี้ทำการสำรวจในพื้นที่ป่าดิบซึ่งถือเป็นพื้นที่อาศัยสำคัญของนกเงือก โดยวางเส้นสำรวจระยะทาง 9 กิโลเมตรทั้งหมด 4 เส้นสำรวจ ในแต่ละเส้นมีจุดสำรวจ 45 จุด ระยะห่างระหว่างจุดเท่ากับ 200 เมตร ดำเนินการสำรวจในระหว่างเดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนธันวาคม 2548 และเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงเดือนมกราคม 2552 ซึ่งการประเมินความหนาแน่นเป็นการใช้ข้อมูลจากการสำรวจในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ของนกเงือกทั้งหมด 6 ครั้ง และเป็นข้อมูลที่สำรวจแบบพบเห็นตัวโดยตรงและการสำรวจแบบได้ยินเสียงร้อง ส่วนข้อมูลที่พบนกเงือกบินผ่านเส้นสำรวจได้ทำการบันทึกแต่ไม่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้  จากการศึกษาพบนกเงือกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน 4 ชนิดคือ นกกก (Buceros bicornis) นกเงือกคอแดง (Aceros nipalensis) นกเงือกกรามช้าง (Aceros undulatus) และนกเงือกสีน้ำตาล (Anorrhinus  tickelli) ผลการประเมินความหนาแน่นของนกเงือกด้วยโปรแกรม DISTANCE 5.0 พบว่า นกกก นกเงือกคอแดง และนกเงือกกรามช้าง มีความหนาแน่น 5.279 (n = 71), 3.691 (n = 35), 11.466 (n = 67) ตัว/ตารางกิโลเมตร ตามลำดับซึ่งเป็นการประเมินจากการสำรวจแบบพบเห็นตัวโดยตรง ส่วนนกเงือกสีน้ำตาลใช้ข้อมูลพบเห็นตัวโดยตรงและได้ยินเสียงร้องรวมกัน มีความหนาแน่นน้อยที่สุดคือ 2.764 (n = 17) ตัว/ตารางกิโลเมตร ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแบบในการประเมินประชากรนกและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ต่อไป


 


คำสำคัญ: การประเมินจำนวนประชากร นกเงือก การสำรวจแบบ Distance sampling เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ