การประเมินการปลดปล่อยก๊าซจากการเผาเชื้อเพลิงในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินการปลดปล่อยก๊าซจากการเผาเชื้อเพลิงในป่าทำการศึกษาในป่าเบญจพรรณ จังหวัดกาญจนบุรี และป่าเต็งรัง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปริมาณก๊าซที่ปลดปล่อยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณระหว่างการตรวจวัดในพื้นที่และโดยวิธีการประเมินจากมวลชีวภาพของเชื้อเพลิงที่สูญเสียไป วิธีการศึกษาโดยวางแปลงขนาด 20 x 20 เมตร จำนวน 3 แปลงกระจายอย่างสุ่มในพื้นที่ของแต่ละชนิดป่า ภายในแปลงทดลองวางแปลงทดลองย่อยขนาด 1 x 1 เมตร สำหรับศึกษาลักษณะของเชื้อเพลิงและเก็บตัวอย่างเชื้อเพลิงก่อนและหลังการทดลองเผา เพื่อวิเคราะห์ค่าความชื้นของเชื้อเพลิง ปริมาณเชื้อเพลิง และทำการศึกษาองค์ประกอบของควันไฟโดยการตรวจวัดด้วยเครื่องวิเคราะห์ก๊าซ (Testo-350XL) พร้อมทั้งทำการคำนวณปริมาณคาร์บอนที่สูญเสียไปจากปริมาณเชื้อเพลิงที่สูญหายไป
ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบและปริมาณความเข้มข้นของก๊าซในควันไฟที่ตรวจวัดด้วยเครื่องวิเคราะห์ ก๊าซในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 80.23 ppm ออกซิเจน (O2) ร้อยละ 20.77 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 0.37 ppm ไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) 2.23 ppm ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 0.09 ppm และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 2.31 ppm ส่วนในป่าเต็งรัง ความเข้มข้นของ CO O2 SO2 NO NO2 และ NOx มีค่าวัดได้ 22.98 ppm ร้อยละ 20.77 0.31 ppm 1.11 ppm 0.16 ppm และ 1.28 ppm ตามลำดับ ในขณะที่ประเมินปริมาณคาร์บอนที่สูญเสียไปจากป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังหลังจากเผาไหม้ในพื้นที่ 1 เฮกแตร์ มีค่า 0.973 ตัน และ 2.069 ตัน ตามลำดับ แม้ว่าการเผาตามกำหนด มีความสำคัญมากต่อการกำจัดเชื้อเพลิงในป่าเพื่อลดอันตรายอันอาจเกิดจากไฟป่าที่มีความรุนแรงสูง ทางเลือกอื่นแทนการเผาเช่นการกำจัดหรือลดเชื้อเพลิงทั้งโดยวิธีกล วิธีชีววิทยา การใช้สารเคมี นำเชื้อเพลิงไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือทำปุ๋ยน่าจะเป็นวิธีจัดการเชื้อเพลิงที่ควรปฏิบัติ
คำสำคัญ: การปลดปล่อยก๊าซ การเผาไหม้ เชื้อเพลิง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”