การจัดการและการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ธรรมชาติ: กรณีศึกษาพื้นที่ป่าสาธิต และต้นแบบของคณะป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

Main Article Content

คำมน สุดตะกร
มณฑล จำเริญพฤกษ์
วุฒิพล หัวเมืองแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการและการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ธรรมชาติ: กรณีศึกษาป่าสาธิต และตัวแบบของคณะป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ ศักยภาพของป่าไผ่ และ จัดการในพื้นที่ป่าชุมชนของบ้านโดยใช้วิธีสัมภาษณ์หัวหน้าหรือตัวแทนครัวเรือนจำนวน 60 ครัวเรือนหรือคิดเป็นร้อยละ 70 และสำรวจศักยภาพของป่าชุมชนเพื่อหากำลังการผลิตไผ่โดยการสำรวจจากแปลงตัวอย่างขนาด 0.1 เฮกแตร์ จำนวน 10 แปลงโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ


ผลของการศึกษาราษฎรหมู่บ้านนาปอจำนวน 60 ครัวเรือน พบว่ามีประชากรทั้งหมด 450 คน อายุเฉลี่ย 40 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 70 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.23 คน อาชีพทำการเกษตรร้อยละ 93.40 รับราชการร้อยละ 3.30 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนจำนวน 30,225 บาทต่อปี ใช้ประโยชน์ไม้ไผ่เฉลี่ยครัวเรือนละ1,994 ลำต่อปี มีรายได้จากไม้ไผ่ครัวเรือนละ 7,741 บาทต่อปี หน่อไม้ใช้เป็นอาหารเฉลี่ยครัวเรือนละ  75.52 กิโลกรัมต่อปี  กำลังการผลิตของป่าผลการศึกษาพบว่ามีไผ่จำนวน 2 ชนิด คือไผ่เฮี้ยะ(Cephalostachyum virgatum) และไผ่พาง หรือ ไผ่เซิม (Dendrocalamus longifimbriatus ) มีกำลังการผลิตจำนวน 5,057 ลำต่อเฮกแตร์ และจำนวน 103 กอต่อเฮกแตร์  นอกนั้นยังพบว่ามีไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10 เซนติเมตรจำนวน 18 ชนิดและมีความหนาแน่นของป่าเท่ากับ 148 ต้นต่อเฮกแตร์


ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ป่าชุมชนในพื้นที่มีกำลังการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตไผ่ 1 เฮกแตร์สามารถสนองความต้องการได้ถึง 4 ครัวเรือนหรือในพื้นที่ป่าทั้งหมด 28 เฮกแตร์สามารถสนองความต้องการได้ถึง 110 ครัวเรือน ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน


 


คำสำคัญ:  การจัดการ การใช้ประโยชน์ ไม้ไผ่ ประเทศลาว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ