การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม และ 3) ปัญหาและอุปสรรค โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ และปฐมภูมิจากประชาชนที่อยู่ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับประชาชนจำนวน 396 ราย ในการศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัดจากจำนวนครั้งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3 ประเภท ได้แก่ ดิน น้ำ และป่าไม้ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเฉลี่ยประมาณปีละ 5 ครั้ง โดยมักทำร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรชุมชน หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่จัดขึ้น มากกว่าการทำการอนุรักษ์เองโดยตรง ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาและการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการรณรงค์ และเมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 3 ประเภทพบว่าประชาชนทำการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากที่สุด รองลงมาคือทรัพยากรดิน ส่วนทรัพยากรน้ำน้อยที่สุด ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชาชน และการเป็นสมาชิกองค์กรชุมชน ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนงบประมาณในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การขาดความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การขาดความตระหนักในผลเสียที่จะเกิดขึ้นถ้าทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย การไม่ได้รับทราบข่าวสารสิ่งแวดล้อมและขาดการร่วมมือและประสานงานที่ดีในการร่วมกิจกรรมกับองค์กรอื่นๆ ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ประชาชนต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ การสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยควรทำเป็นข้อตกลงหรือความร่วมมืออย่างเป็นทางการ โดยมีกำหนดเวลา เป้าหมายที่ชัดเจน และต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”