พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวมูเซอดำ บ้านห้วยปลาหลด ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวมูเซอดำ บ้านห้วยปลาหลด ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของราษฎรในการนำพรรณพืชมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ด้วยวิธีการประเมินทางพฤกษศาสตร์แบบเร่งด่วน และศึกษาลักษณะทางนิเวศบางประการของพรรณพืชที่ราษฎรใช้ประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่าราษฎรมีภูมิปัญญาในการเลือกใช้ประโยชน์จากพรรณพืชอย่างหลากหลาย จำนวนทั้งสิ้น 193 ชนิด 79 วงศ์ จำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์เป็น 6 ประเภท ได้แก่ พืชอาหาร 60 ชนิด 37 วงศ์ พืชสมุนไพร 103 ชนิด 53 วงศ์ พืชที่ใช้ในการก่อสร้าง 14 ชนิด 12 วงศ์ ไม้ฟืนและถ่าน 6 ชนิด 6 วงศ์ พืชใช้สอยในลักษณะอื่น 19 ชนิด 15 วงศ์ และพืชปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม 4 ชนิด 4 วงศ์ สำหรับการศึกษาลักษณะทางนิเวศเชิงปริมาณของพืชที่ราษฎรนำมาใช้ประโยชน์พบว่า ในป่าเบญจพรรณ ราษฎรเก็บหาพรรณพืชเพื่อใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้น 66 ชนิด 40 วงศ์ พืชเด่นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูง ได้แก่ กระเจียว (Curcuma sessilis Gage) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) และเข็มป่า (Ixora cibdela Craib) มีค่าดัชนีความสำคัญ เท่ากับ 14.20 12.35 และ 9.93 ตามลำดับ ส่วนป่าดิบแล้งพบพรรณพืชที่ราษฎรเก็บหาและใช้ประโยชน์ จำนวน 54 ชนิด 36 วงศ์ พืชเด่นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูง ได้แก่ ชะเนียง (Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen) รองลงมาได้แก่ ต้างหลวง (Trevesia palmata (Roxb. Ex Lindl.) Vis.) และหนามไข่ปู (Rubus rugosus Sm.) ซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญ เท่ากับ 17.17 13.17 และ 10.56 ตามลำดับ
คำสำคัญ : พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ลักษณะทางนิเวศ ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”