การตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่ป่าไม้ เกษตรกรรม ป่าไม้ผสมเกษตรกรรม โดยใช้ลุ่มน้ำ ขนาดเล็ก ในลุ่มน้ำสาขาแม่ถาง จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้ผสมเกษตรกรรม โดยใช้พื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก ในลุ่มน้ำสาขาแม่ถาง จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อคุณภาพน้ำบางประการ โดยทำการคัดเลือกลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน และกำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำที่ปลายลุ่มน้ำ (outlet) ของลุ่มน้ำขนาดเล็กที่คัดเลือก 6 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำห้วยน้ำกล้า ห้วยตั๊บ ห้วยหมาไน ห้วยน้ำก้อ ห้วยป่าแตน และห้วยผาขวาง โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่จุด outlet ของแต่ละลุ่มน้ำ ดังกล่าวทุกเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2550 ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้ผสมเกษตรกรรมมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิน้ำระหว่าง 25.29 – 26.39 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่างมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 8.17 -8.51 ซึ่งพบว่าทุกพื้นที่ศึกษามีค่าไม่แตกต่างกัน และจัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และค่าบีโอดี มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.35 – 4.02 และ 0.51 – 1.04 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าความขุ่น มีค่าสูงที่สุดในพื้นที่ป่าไม้ผสมเกษตรกรรม ส่วนค่าไนเตรทไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากในพื้นที่เกษตรกรรมมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ส่วนค่าความกระด้างของน้ำมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่ามาตรฐาน ยกเว้นลุ่มน้ำห้วยน้ำกล้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ ที่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผลจากการเปรียบเทียบ พบว่าน้ำท่าที่มาจากพื้นที่ลุ่มน้ำป่าไม้จัดเป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 1 เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพตามธรรมชาติ ส่วนลุ่มน้ำเกษตรกรรม และลุ่มน้ำป่าไม้ผสมเกษตรกรรม ให้น้ำท่าที่จัดเป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภทที่ต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อนนำไปใช้ในการบริโภค
คำสำคัญ: คุณภาพน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ลุ่มน้ำแม่ถาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”