อิทธิพลของขนาดหย่อมป่าต่อสังคมนกบริเวณโดยรอบผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย

Main Article Content

อิงอร ไชยเยศ
ประทีป ด้วงแค
อมรรัตน์ ว่องไว
โดม ประทุมทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาอิทธิผลของขนาดหย่อมป่าที่มีการรบกวนต่อสังคมนกบริเวณพื้นที่แนวกันชนโดยรอบผืนป่าตะวันตก โดยใช้วิธีการวางแนวเส้นสำรวจเส้นตรง (line transect) โดยมีระยะทางเส้นสำรวจละ 500 เมตร จำนวน 135 เส้น ในพื้นที่ 63 หย่อมป่าที่มีขนาดพื้นที่อยู่ระหว่าง 4.14 ถึง 9,057.01 เฮกแตร์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมนกกับขนาดหย่อมป่าโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (simple linear regression) และวิธีการจัดลำดับ (ordination) แบบ Canonical Correspondence Analysis (CCA) ผลการศึกษาพบนกทั้งหมด 10 อันดับ 23 วงศ์ 61 ชนิด โดยหนึ่งในจำนวนนี้พบนกที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์(endangered) ของประเทศไทย 1 ชนิด คือ นกจู๋เต้นเขาหินปูน (Limestone Wren-Babbler, Napothera  crispifrons) และผลจาการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าค่าความหลากหลายของจะนกเพิ่มขึ้นตามขนาดพื้นที่หย่อมป่าที่เพิ่มขึ้น (R2=0.216; F=16.84; P<0.001)  และจากผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ CCA พบว่าขนาดของหย่อมป่านอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ ที่มีขนาดเล็กที่สุดที่จะยังสามารถรักษาความหลากหลายของสังคมนกไว้ได้ นั้นต้องมีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 960.37 เฮกแตร์ ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้พื้นที่นั้นจะอยู่ภายนอกป่าอนุรักษ์ ขนาดพื้นที่ของหย่อมป่าขนาดใหญ่ยังคงมีความสำคัญต่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพได้ดีกว่าพื้นที่ขนาดเล็กได้ด้วยเช่นกัน


คำสำคัญ: หย่อมป่า ความหลากหลายของนก การอนุรักษ์ พื้นที่กันชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ