ศักยภาพทางกายภาพของพื้นที่ สำหรับการปลูกสร้างสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาศักยภาพของพื้นที่สำหรับการปลูกไม้ยูคาลิปตัสดำเนินการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 8.44 ล้านเฮกแตร์ สามารถจำแนกพื้นที่ออกเป็น 4 ลักษณะบนฐานข้อมูลเชิงตัวเลขของกรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่ พื้นที่กลุ่มชุดดินที่ดอน พื้นที่กลุ่มชุดดินที่ลุ่ม พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ซึ่งพื้นที่เป้าหมายมีเนื้อที่ 3.83 ล้านเฮกแตร์ หรือร้อยละ 45.42 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งได้ทำการวางแปลงตัวอย่างทั้งหมด 91 แปลงและมีขนาด 40X40 ตารางเมตรต่อแปลง เพื่อเก็บข้อมูลอายุของไม้ เส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ความสูง และกลุ่มชุดดิน เพื่อหาชั้นคุณภาพถิ่นที่ตั้ง พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างดิน 3 ระดับ ได้แก่ 0-10, 10-30 และ 30-60 เซนติเมตร สำหรับวิเคราะห์หาคุณสมบัติของดินทางกายภาพ และเคมี เพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตของไม้ยูคาลิปตัส คุณสมบัติของดินรวมถึงปัจจัยสภาพภูมิอากาศ
ผลการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายพบว่ามีกลุ่มชุดดินที่ 40, 41, 35, 48, 29, 56, 55, 47, 31, 36, 46, 49, 48, 47 และ 45 โดยกลุ่มชุดดินที่ 40 (ชุมพวงและยางตลาด) มีพื้นที่มากที่สุด เท่ากับ 1,466,384 เฮกแตร์ คิดเป็นร้อยล่ะ 17.38 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาได้แก่ กลุ่มชุดดิน 41 (คำบง) และ 35 (โคราช,สตึก และด่านซ้าย) มีพื้นที่ 540,479 และ 248,514 เฮกแตร์ ตามลำดับ และจำแนกชั้นดัชนีถิ่นที่ตั้งตามมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดินที่อายุฐาน 5 ปี ออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่ (1) ชั้นดัชนีถิ่นที่ตั้งเหมาะสมมาก ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 38 รองลงมาเป็น (2) ชั้นดัชนีถิ่นที่ตั้งเหมาะสม ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 33, 44 และ 46 (3) ชั้นดัชนีถิ่นที่ตั้งเหมาะสมปานกลาง ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 29, 35, 36, 40, 41, 47, 48, 49 และ 55 (4) ชั้นดัชนีถิ่นที่ตั้งเหมาะสมน้อย ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 31 และ (5) ชั้นดัชนีถิ่นที่ตั้งเหมาะสมน้อยมาก ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 56 ผลผลิตของไม้ยูคาลิปตัสมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของดินที่ระดับความลึก 10-30 เซนติเมตร โดยในพื้นที่ที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินสูงจะให้ผลผลิตของไม้สูง ในทางตรงกันข้ามผลผลิตของไม้มีค่าต่ำในพื้นที่ที่มีปริมาณแคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ และปริมาตรของแข็งในดินสูง สำหรับภูมิอากาศไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลผลิตของไม้ยูคาลิปตัส เนื่องจากในพื้นที่ศึกษาภูมิอากาศอยู่ในช่วงที่ค่อนข้างเหมาะสมกับการเติบโตของไม้ชนิดนี้ ซึ่งเมื่อจัดทำเป็นแผนที่เชิงตัวเลขแล้วสามารถใช้ข้อมูลในการส่งเสริมการปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัสแก่ภาครัฐและเอกชน
คำสำคัญ: ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ศักยภาพของพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”