ผลของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสต่อสมบัติบางประการของดิน บริเวณสถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสต่อสมบัติบางประการของดิน ได้ดำเนินการศึกษาบริเวณสันเขาโลตึง สถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยวางแปลงเพื่อเก็บตัวอย่างดินในสวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 6 ปี สวนป่ายูคาลิปตัสแตกหน่ออายุ 2 ปี เปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าธรรมชาติและพื้นที่ทุ่งหญ้า พบว่า สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ เนื้อดิน (soil texture) ความหนาแน่นอนุภาค (particle density, Dp) ความพรุนของดิน (soil porosity) ความชื้นของดิน (soil moisture) มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความหนาแน่นรวม (bulk density, Db) ที่ระดับผิวหน้าดินของสวนป่ายูคาลิปตัสแตกหน่ออายุ 2 ปี และพื้นที่ทุ่งหญ้า มีค่ามากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมบัติทางเคมีของดิน ได้แก่ pH ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus, P) ปริมาณของโพแทสเซียม (exchangeable potassium, K) แคลเซียม (exchangeable calcium, Ca) และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable magnesium, Mg) ในทุกพื้นที่ศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ปริมาณอินทรียวัตถุ (soil organic matter, OM) ในสวนป่ายูคาลิปตัสแตกหน่ออายุ 2 ปี มีปริมาณมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนจุลินทรีย์ในดิน ได้แก่ แบคทีเรีย (bacteria) รา (mold) แอคติโนมัยซิส (actinomycetes) และไมคอร์ไรซา (Arbuscular mycorrhiza ) ในทุกพื้นที่ศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำดินมาทดสอบอัตราการรอดตายและการเติบโตของกล้าไม้แดง (Xylia xylocarpa) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าอัตราการรอดตาย การเติบโตที่ระดับชิดดิน และความสูง ของกล้าไม้แดงที่ปลูกในดินจากสวนป่ายูคาลิปตัสมีค่ามากที่สุด ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากลักษณะทางกายภาพและทางเคมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) และปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
คำสำคัญ: สวนป่ายูคาลิปตัส สมบัติของดิน จุลินทรีย์ดิน อัตราการรอดตาย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”