การผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ตลอดจนปัญหาในการทำธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ในจังหวัดลำปาง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจำนวน 17 ราย จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการจำนวน 17 ราย จำแนกเป็นผู้ผลิตไม้เสียบอาหารจำนวน 4 ราย ผู้ผลิตไม้เสียบอาหารและตะเกียบจำนวน 7 ราย ผู้ผลิตไม้เสียบอาหาร ตะเกียบ และไม้จิ้มฟันจำนวน 5 ราย และผู้ผลิตก้านธูปจำนวน 1 ราย กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยวัตถุดิบที่ใช้คือไผ่ซางที่มีการตัดขนาดและความยาวตามความต้องการเรียกว่าไม้เส้น ในปีพ.ศ. 2550 มีการใช้ไม้เส้นจำนวน 6,883,823 กิโลกรัม ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีรูปแบบตายตัวไม่มีการออกแบบให้แตกต่างกันมากนัก มีโรงงานที่มีตรายี่ห้อเป็นของตนเองเพียงร้อยละ35.29 มีการใช้กล่องกระดาษลูกฟูกและกระสอบเป็นบรรจุภัณฑ์โดยไม่มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ในปี พ.ศ. 2550 มีการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ในจังหวัดลำปางจำนวน 6,258,025 กิโลกรัม โดยสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตถึง 109,187,086 บาท ปัญหาด้านการผลิตที่พบคือ การขาดแคลนแรงงานในฤดูทำนาช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม และช่วงประเพณีต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ปัญหาการถูกแมลงรบกวน วัตถุดิบ และสินค้าเมื่อมีการเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าเกิน 3 เดือน และปัญหาความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพไม้ไผ่ที่สั่งซื้อมา ส่วนปัญหาด้านการตลาดพบว่าราคาขายผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ของแต่ละโรงงานไม่มีความแน่นอนขึ้นอยู่กับบริษัทที่สั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ไม่มีการออกแบบและพัฒนาให้มีรูปแบบหลากหลายให้เป็นที่น่าสนใจ การจำหน่ายสินค้าส่วนใหญ่เป็นเพียงโรงงานผู้รับผลิตสินค้า และส่งให้ลูกค้าประจำ และไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะโฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ดังนั้นหน่วยงานของรัฐควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสมาคมของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในการทำธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐควรเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการผลิต และการตลาด ตลอดจนการให้ความรู้กับผู้ผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ควรจะมีการส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ไผ่ซางบริเวณบ้านหรือที่ทำกินเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบที่เกิดขึ้นใหม่ในอนาคตและเป็นการลดการนำไผ่ซางจากป่าธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
คำสำคัญ: การผลิต การตลาด ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ จังหวัดลำปาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”