การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา ตามแนวรั้ว และบริเวณหน้าบ้าน-หลังบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยประยุกต์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และศักยภาพของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา ตามแนวรั้ว และบริเวณหน้าบ้าน-หลังบ้าน ที่จะสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร งานวิจัยดำเนินการในพื้นที่ 22 ตำบล ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 660 ราย โดยได้รับการอนุเคราะห์กล้าไม้ยูคาลิปตัสพันธุ์ดีจาก บริษัท ยูคาลิปตัส เทคโนโลยี จำกัด จำนวน 84,700 กล้า ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
อัตราการรอดตายของกล้าไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกทั้ง 3 รูปแบบข้างต้นนั้นแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างต่ำ คือ ประมาณร้อยละ 78.54 ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาความพร้อมของเกษตรกรที่จะต้องปลูกกล้าไม้โดยเร็วทันทีที่ได้รับกล้าไม้จากโครงการ การทิ้งระยะเวลาปลูกให้ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด มีผลโดยตรงต่ออัตราการรอดตายของกล้าไม้ที่ปลูก การเติบโตของไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกตามแนวรั้ว และบริเวณหน้าบ้าน-หลังบ้านแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน และยังมีความใกล้เคียงกับการเติบโตของไม้ยูคาลิปตัสที่สมาชิกบริษัทฯปลูกทั่วๆ ไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แนวทางการปลูกไม้ยูคาลิปตัสทั้งสองรูปแบบข้างต้น อยู่ในเกณฑ์ที่พอจะปฏิบัติได้และสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรในระดับที่น่าพอใจ ส่วนการเติบโตของไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกบนคันนานั้น ดีกว่าการปลูกทั้งสองรูปแบบข้างต้น จึงทำให้มีศักยภาพที่จะสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดี มีความมั่นคงและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นด้วย จึงควรจะได้รับการส่งเสริมทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้มีการปลูกอย่างแพร่หลายยิ่งๆ ขึ้นต่อไป
ในกรณีที่มีแตนฝอยปมระบาด ในช่วงแรกของการปลูกก็ให้หารือและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และจัดหายาฆ่าแมลงมาฉีดพ่น เพื่อประคองสถานการณ์ไว้สักระยะหนึ่ง กล้าไม้ยูคาลิปตัสเหล่านั้น ก็จะค่อยๆ ปรับตัว และฟื้นคืนการเติบโตอย่างปกติ ในปีที่ 3 และสถานการณ์ต่างๆ ก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้
คำสำคัญ: ยูคาลิปตัส หน้าบ้าน-หลังบ้าน แนวรั้วรอบบ้าน บนคันนา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”