การกระจายของรากไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกบนคันนาในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การกระจายของรากยูคาลิปตัสที่ปลูกบนคันนาในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทำการศึกษาในแปลงทดสอบสายต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกบนคันนา อำเภอสนามชัยเขต ในการทดลองนี้ใช้สายต้นยูคาลิปตัสทั้งสิ้น 4 สายต้น คือ K7, K51, K58 และ K59 โดยสายต้นยูคาลิปตัสปลูกบนคันนาแถวเดียวด้วยระยะห่างระหว่างต้น 1.0 เมตร อายุ 1 ปี 6 เดือน และ 3 ปี 6 เดือน ทำการเลือกต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยจำนวน 3 ต้นในแต่ละช่วงอายุ ในแต่ละต้นทำการขุดดินขนาด 100x50 เซนติเมตร ลึกชั้นละ 10 เซนติเมตร ลงไปจนไม่พบราก เก็บตัวอย่างดินที่มีรากขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง < 2 มิลลิเมตร) และรากขนาดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง > 2 มิลลิเมตร) ในแต่ละชั้น นำมาทำความสะอาด และนำไปอบแห้งเพื่อหามวลชีวภาพของรากในแต่ละชั้น ส่วนการศึกษาพื้นที่หน้าตัดของรากขนาดใหญ่ใช้วิธีขุดหลุมเพลาะลึกลงไปจนไม่พบรากขนาดใหญ่ วัดขนาดของรากในแต่ละระดับความลึกของดิน เพื่อนำไปคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของรากขนาดใหญ่ต่อหน่วยพื้นที่ต่อไป
ผลการศึกษา พบว่า การกระจายของรากขนาดเล็กของสายต้น K58 มีมวลชีวภาพมากที่สุด และมีการกระจายอยู่ในช่วง 0-60 เซนติเมตร รองลงมาคือ สายต้น K7, K59 และ K51 และมีการกระจายของรากขนาดเล็กอยู่ในช่วง 0-50 เซนติเมตร โดยมวลชีวภาพของรากขนาดเล็กเพิ่มขึ้นตามอายุของไม้ที่เพิ่มขึ้น แต่ลดลงตามความลึกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การกระจายของรากขนาดใหญ่ พบว่า สายต้น K58 มีมวลชีวภาพที่สุด รองลงมาคือ สายต้น K59, K51 และ K7 และพบการกระจายหนาแน่นในช่วง 0-60 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่หน้าตัดของรากขนาดใหญ่ของทั้งสองช่วงอายุของสายต้น K51 มีพื้นที่หน้าตัดมากที่สุด รองลงมาคือ สายต้น K58, K59 และ K7 ตามลำดับ โดยมีการกระจายของพื้นที่หน้าตัดของรากขนาดใหญ่อยู่ในช่วง 0-60 เซนติเมตร ซึ่งมวลชีวภาพและพื้นที่หน้าตัดของรากขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นตามอายุของไม้และระดับความลึกของดินที่ลึกลง นอกจากนี้ยังพบว่า K58, K59 และ K7 เป็นสายต้นที่มีเรือนรากตื้นเมื่อเปรียบเทียบกับ K51
คำสำคัญ: ระบบราก ยูคาลิปตัส คันนา วนเกษตร จังหวัดฉะเชิงเทรา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”