ลักษณะการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบยูคาลิปตัส 4 สายต้นที่ปลูกบนคันนา ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สาพิศ ดิลกสัมพันธ์
ดุริยะ สถาพร
นรากร ศรีเลิศ

บทคัดย่อ

ลักษณะการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเติบโตและการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของต้นไม้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบยูคาลิปตัสจำนวน 4 สายต้น ที่ปลูกบนคันนาในพื้นที่เกษตรกร 2 พื้นที่ ของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยทำการศึกษาการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบ 4 ลักษณะ ได้แก่ การสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด การชักนำของปากใบ การคายน้ำ และประสิทธิภาพการใช้น้ำของใบในฤดูแล้ง และฤดูฝน ตลอดจนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้ต่อศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของไม้ยูคาลิปตัสที่ทำการศึกษา


ผลการศึกษาพบว่าลักษณะการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบทั้ง 4 ลักษณะ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติระหว่างสายต้น แต่มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างพื้นที่และระหว่างฤดูกาล ในขณะที่การชักนำของปากใบ การคายน้ำ และประสิทธิภาพการใช้น้ำของใบเท่านั้น ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติระหว่างฤดูกาล แสดงให้เห็นว่าในสภาพที่ขาดน้ำในฤดูแล้งชักนำให้เกิดการปิดปากใบบางส่วนเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของใบ แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการสังเคราะห์แสงของใบ จากผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิภาพในการใช้น้ำของใบในฤดูฝนและดัชนีพื้นที่ใบ และมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการชักนำของปากใบและการคายน้ำของใบทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน และการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุดในฤดูแล้ง แต่ไม่มีความสัมพันธ์การสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุดในฤดูฝนและประสิทธิภาพในการใช้น้ำของใบในฤดูแล้งแต่อย่างใด ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงความแปรผันของลักษณะการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบเนื่องจากความแตกต่างของลักษณะพื้นฐานทางพันธุกรรมและบทบาทของลักษณะการแลกเปลี่ยนก๊าซของใบที่มีต่อการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของไม้ยูคาลิปตัสที่ศึกษาในครั้งนี้


คำสำคัญ: ยูคาลิปตัส  สายต้น  การแลกเปลี่ยนก๊าซของใบ  การกักเก็บคาร์บอน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ