การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางสังคมประชากร รูปแบบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการ พฤติกรรมนันทนาการ วิคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนันทนาการ และคาดการณ์แนวโน้มการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้มาเยือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้มาเยือนมีอายุเฉลี่ย 28.5 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถานภาพทางอาชีพเป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา เป็นผู้มาเยือนต่างถิ่น มีประสบการณ์การไปเยือนพื้นที่ธรรมชาติอื่น แต่ไม่เคยมาเยือนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมาก่อน กลุ่มในการมาเยือนเป็นกลุ่มเพื่อน ขนาคกลุ่มเฉลี่ย 20 คน ใช้เวลาในพื้นที่แบบพักค้างแรม จำนวน 1 คืน กิจกรรมที่ประกอบสูงสุดในการไปเยือนพื้นที่ธรรมชาติอื่นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งครั้งนี้ คือ การชมทิวทัศน์/ทัศนียภาพ มีแรงจูงใจในการได้เยือนพื้นที่ธรรมชาติ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเรียนรู้ระบบนิเวศ ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบทางนันทนาการ และค่านิยมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้เกี่ยวกับบรรทัดฐาน/กฎระเบียบของพื้นที่อยู่ในระดับสูง และมีพฤติกรรมนันทนาการค่อนไปทางบวก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนันทนาการของผู้มาเยือนได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบทางนันทนาการ (Beta-0.224: P-0.000) อายุ (Beta-0.173; P-0.00 1) คำนิยมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ (Beta--0.160; P-0.002) กิจกรรมนันทนาการที่ประกอบในพื้นที่ (Beta-0.127; P-0.011) และแรงจูงใจในการได้เยือนพื้นที่ธรรมชาติ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเรียนรู้ระบบนิเวศ (Beta-0.128; P-0.029) สำหรับแนวโน้มการใช้ประโยชน์ด้านปริมาณการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการลดลง และด้านพฤติกรรมนันทนาการค่อนไปทางบวก
คำสำคัญ: การใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”