การวิเคราะห์รูปแบบนันทนาการและประสบการณ์นันทนาการของผู้มาเยือน แหล่งนันทนาการทางธรรมชาติในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบนันทนาการและประสบการณ์นันทนาการของผู้มาเยือนแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์นันทนาการที่พึงปรารถนากับประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับจากการไปเยือนแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเปรียบเทียบประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับจากการ ไปเยือนแหล่งนันทนาการแต่ละแหล่ง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับกับความพึงพอใจโดยรวมและความต้องการกลับมาเยือนแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มาเยือน จำนวน 500 คน จากแหล่งนันทนาการที่เป็นตัวแทนพื้นที่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผู้มาเยือนส่วนใหญ่ไม่เคยมาเยือนพื้นที่ศึกษา ใช้เวลาท่องเที่ยวในแหล่งนันทนาการประมาณ 1 ชั่วโมง 25 นาที โดยมีกิจกรรมชมทิวทัศน์เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ผู้มาเยือนคาดหวังและเข้าร่วมมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสามารถจำแนกกลุ่มประสบการณ์นันทนาการที่พึงปรารถนาได้ 5 กลุ่ม และจำแนกกลุ่มประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับได้ 4 กลุ่ม การจำแนกกลุ่มประสบการณ์นันทนาการที่พึงปรารถนาและประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 58.42 และ 55.39 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประสบการณ์นันทนาการที่พึงปรารถนากับประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับ พบว่า มีประสบการณ์นันทนาการเพียง 16 คู่จากตัวแปรทั้งหมด 28 ตู่ที่แตกด่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการทดสอสมมติฐาน พบว่า ประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับจากการไปเยือนแหล่งนันทนาการแต่ละแหล่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและประสบกรณ์นันทนาการที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจโดยรวมและความต้องการกลับมาเยือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: รูปแบบนันทนาการ ประสบการณ์นันทนาการ แหล่งนันทนาการทางธรรมชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”