การแปรรูปหน่อไม้จากไผ่บนที่สูง : หน่อไม้ดองเต้าเจี้ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการใช้ประโยชน์หน่อไม้ไผ่บนที่สูง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรหน่อไม้ดองเต้าเจี้ยว ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยทดลองแปรรูปหน่อไม้ 3 ชนิดได้แก่ ไผ่หยก (Bambusa oldhamii) ไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) และไผ่มากินหน่อย (Phyllostachys makinoi) เป็นหน่อไม้ดองเต้าเจี้ยวในภาชนะบรรจุปิดสนิทจำนวน 4 สูตร ได้แก่ หน่อไม้ดองเต้าเจี้ยว หน่อไม้ดองเต้าเจี้ยวผสมขิง หน่อไม้ดองเต้าเจี้ยวผสมขิงและพริกแดง และหน่อไม้ดองเต้าเจี้ยวผสมพริกแดง แล้วตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและจุลินทรีย์ รวมทั้งทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์หน่อไม้ดองเต้าเจี้ยวทุกสูตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด คุณภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย เกลืออยู่ในช่วงร้อยละ 4.26 – 4.55 ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 3.99-4.06 และปริมาณกรดทั้งหมดในรูปของกรดอะซิติกอยู่ในช่วงร้อยละ 0.85-0.96 และ 0.69-0.84 ของกลุ่มหน่อไม้ไผ่หยกและไผ่หวานอ่างขาง ตามลำดับ ส่วนคุณภาพด้านจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคตามข้อกำหนดของอาหารที่เป็นกรดในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผลการประเมินทางประสาทสัมผัสแสดงว่า ผลิตภัณฑ์หน่อไม้ดองเต้าเจี้ยวพันธุ์หน่อไผ่หยกมีคะแนนการยอมรับสูงสุด แต่แตกต่างกับหน่อไผ่หวานอ่างขางอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลิตภัณฑ์ที่มีขิงเป็นส่วนผสมได้รับคะแนนเฉลี่ยการยอมรับรวมสูงสุด เนื่องจากขิงทำให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นหอม ขณะที่สูตรที่เป็นหน่อไม้อย่างเดียวมีคะแนนการยอมรับต่ำสุด แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกเกษตรกรของสถานีทดลองในมูลนิธิโครงการหลวงด้วย
คำสำคัญ : หน่อไม้ดอง ไผ่หยก ไผ่หวานอ่างขาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”