ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันบริเวณอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันที่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2544 ถึง พฤษภาคม 2545 โดยการเดินสำรวจตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ในช่วงเวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. ตรวจนับชนิดและปริมาณผีเสื้อกลางวันภายในรัศมี 5 เมตร ทางด้านซ้าย-ขวา ด้านหน้าและด้านบนของผู้สำรวจ โดยการสังเกตจำแนกชนิด ใช้กล้องส่องทางไกล การใช้สวิงดักจับ และการใช้กับดักล่อ เพื่อจำแนกชนิดแล้วปล่อยกลับธรรมชาติ ผลการศึกษาพบผีเสื้อกลางวันจำนวนทั้งสิ้น 296 ชนิด จาก 5 วงศ์ ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Hesperiidae, Lycaenidae Nymphalidae, Papilionidae และ Pieridae จำนวน 39, 88, 107, 26 และ 36 ชนิด ตามลำดับ การสำรวจพบผีเสื้อกลางวันมากที่สุด 173 ชนิดในป่าผสมผลัดใบ รองลงมาได้แก่ป่าเต็งรังพบ 170 ชนิด โดยทั้งสองชนิดป่านี้พบจำนวนชนิดและปริมาณมากที่สุดในช่วงฤดูฝน ส่วนในช่วงฤดูร้อนพบผีเสื้อกลางวันมากที่สุดทั้งในป่าดิบเขาและทุ่งหญ้าในที่สูง สำหรับค่า alpha (a) พบว่าในป่าผสมผลัดใบมีค่าสูงที่สุด (20.09) รองลงมาคือป่าเต็งรัง (16.49) ป่าผสมผลัดใบและป่าเต็งรังมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงเท่ากับ 35.14 มากกว่าชนิดที่พบในป่าทุ่งหญ้าในที่สูง ทั้งนี้ลักษณะโครงสร้างของชนิดผีเสื้อกลางวันที่พบในป่าแต่ละประเภทไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบผีเสื้อกลางวัน 2 ชนิด จัดอยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ บัญชีที่ 2 (CITES Appendix II) คือ ผีเสื้ออิมพีเรียล (Teinopalpus imperialis imperatrix) และผีเสื้อถุงทองป่าสูง (Troides helena)
คำสำคัญ : ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวัน, พื้นที่อาศัย, ชนิดป่า, อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”