ผลของวัสดุย้ายชำต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้กฤษณา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลของวัสดุย้ายชำต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้กฤษณา ได้ดำเนินการศึกษาที่เรือนเพาะชำของศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ภาคกลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design มีทั้งหมด 10 ทรีทเมนต์ ได้แก่ ขุยมะพร้าว, ขุยมะพร้าวใส่ปุ๋ย Osmocote, หน้าดิน, หน้าดินใส่ปุ๋ย Osmocote, ขุยมะพร้าวผสมหน้าดิน (3:1), ขุยมะพร้าวผสมปุ๋ยคอก (3:1), หน้าดินผสมปุ๋ยคอก (3:1), ขุยมะพร้าวผสมหน้าดิน (3:1) ใส่ปุ๋ย Osmocote, ขุยมะพร้าวผสมหน้าดินผสมปุ๋ยคอก (3:1:1) และขุยมะพร้าวผสมหน้าดินผสมปุ๋ยคอก (3:1:1) ใส่ปุ๋ย Osmocote แต่ละทรีทเมนต์มี 4 ซ้ำ ทำการวัดความสูง ความโตที่ระดับคอราก และการรอดตายของกล้าไม้ เมื่อกล้าไม้มีอายุครบ 1, 3, 6, 9 และ 12 เดือน ตามลำดับ และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำกล้าไม้ไปอบและชั่งหาน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และสัดส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนราก ผลการศึกษาพบว่า กล้าไม้กฤษณาในวัสดุย้ายชำทั้งสิบชนิดมีการรอดตาย การเจริญเติบโตทางความสูงและความโตที่ระดับคอราก ตลอดจนน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และสัดส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนราก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น การรอดตายของกล้าไม้เมื่อกล้าไม้มีอายุ 1, 3 และ 6 เดือน รวมทั้งความโตของกล้าไม้เมื่อกล้าไม้มีอายุ 1 เดือน ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย ขุยมะพร้าวผสมหน้าดินใส่ปุ๋ย Osmocote เป็นวัสดุย้ายชำที่ช่วยส่งเสริมให้กล้าไม้มีการรอดตาย การเจริญเติบโตทางความสูงและความโต ตลอดจนน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และสัดส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนรากมากที่สุด แต่ ขุยมะพร้าวผสมหน้าดินผสมปุ๋ยคอกใส่ปุ๋ย Osmocote มีผลให้กล้าไม้มีการรอดตาย การเจริญเติบโตทางความสูง ความโต และน้ำหนักแห้งน้อยที่สุด รวมทั้ง ขุยมะพร้าวใส่ปุ๋ย Osmocote ขุยมะพร้าวผสมปุ๋ยคอก หน้าดินผสมปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าวผสมหน้าดินผสมปุ๋ยคอก มีผลให้กล้าไม้มีการเจริญเติบโตและการรอดตายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมดของกล้าไม้ในทุกวัสดุย้ายชำ นอกจากนี้ คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพที่แตกต่างกันของวัสดุย้ายชำบางชนิดที่ตรวจวัดได้แสดงผลกระทบอย่างไม่ชัดเจนต่อการรอดตายและการเจริญเติบโตของกล้าไม้กฤษณา แต่สภาพแวดล้อมภายในเรือนเพาะชำที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักมีแนวโน้มที่ช่วยส่งเสริมการรอดตายและการเจริญเติบโตของกล้าไม้ ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า ขุยมะพร้าวผสมหน้าดินใส่ปุ๋ย Osmocote เป็นวัสดุย้ายชำที่มีความเหมาะสมสำหรับการย้ายชำกล้าไม้กฤษณาในเรือนเพาะชำ
คำสำคัญ: ไม้กฤษณา วัสดุย้ายชำ การเจริญเติบโตของกล้าไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”