ความต้องการไม้ใช้สอย และกำลังการผลิตของป่าชุมชนเขตนาซิง อำเภอเพียง จังหวัดไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการไม้ใช้สอย และ กำลังการผลิตของป่าชุมชนเขตนาซิง อำเภอเพียง จังหวัดไซยะบุรี และเสนอแนะแนวทางในการประยุกต์ข้อมูลเพื่อการวางแผนจัดการป่าชุมชน โดยใช้วิธีการสร้างแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 239 ครัวเรือน ในการประเมินความต้องการไม้ใช้สอย และ กำลังการผลิตของป่าชุมชน ใช้วิธีการสำรวจแบบ Line plot system สำหรับเก็บข้อมูลต้นไม้ ผลการศึกษา พบว่าปริมาณความต้องการใช้ไม้ทั้งหมด มีจำนวน 2,406.68 ลูกบาศก์เมตรต่อปี จำแนกเป็นไม้ฟืน 2,237.11 ลูกบาศก์เมตรเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเท่ากับ 3.76 ลูกบาศก์เมตร และเฉลี่ยต่อคน 0.752 ลูกบาศก์เมตร ไม้ทำการก่อสร้าง จำนวน 169.57 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เฉลี่ยต่อครัวเรือน 0.286 ลูกบาศก์เมตร และ ต่อคนเท่ากับ 0.057 ลูกบาศก์เมตร สำหรับแหล่งที่มาของไม้ใช้สอยของชุมชนได้มาจาก 2 แหล่ง คือ เก็บจากป่าชุมชน และ ซื้อจากโรงงาน สำหรับไม้ฟืน เก็บจากป่าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 78 และ ชื้อจากโรงงาน คิดเป็นร้อยละ 22 ของปริมาณการใช้ไม้ฟืนทั้งหมด ไม้ก่อสร้างร้อยละ 28.45 เก็บจากป่าชุมชน และ ร้อยละ 71.55 เก็บจากป่าใช้สอยของรัฐ ผลการศึกษากำลังการผลิตไม้ป่าชุมชนพบว่า มีเนื้อที่ป่าของชุมชน 150.19 เฮกตาร์ อัตราความหนาแน่นของไม้ความโตขนาดวัดรอบเพียงอก 30 เซนติเมตรขึ้นไป มีจำนวน 18,173 ต้นคิดเป็นปริมาตรรวม 10,289.520 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ย 68.51 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ ไม้รุ่น (Saplings) 39 ชนิด จำนวน 42,804 ต้น ความหนาแน่นเฉลี่ย 285 ต้นต่อเฮกตาร์ ลูกไม้ (Seedlings) 46 ชนิด จำนวน 191,793 ต้น เฉลี่ย 1,277 ต้นต่อเฮกตาร์ ความเพิ่มพูนเนื้อไม้รายปี ร้อยละ 2.5 ต่อเฮกตาร์ หรือ 1.7 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ ความเพิ่มพูนของป่าชุมชนเท่ากับ 255.33 ลูกบาศก์เมตรต่อปี จะเห็นได้ว่า ป่าชุมชนสามารถตอบสนองด้านไม้ก่อสร้างให้ชุมชนได้อย่างพอเพียง ถึงอย่างไรก็ตาม ควรมีการจัดการการใช้ทรัพยากรป่าไม้ โดยจำกัดชนิดไม้ที่หายาก ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และ อนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์
คำสำคัญ: ไม้ใช้สอย กำลังการผลิต ป่าชุมชน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”