ความหลากชนิดของเห็ดในสวนป่าไผ่ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสำรวจชนิดเห็ดบนเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ผ่านสวนป่าไผ่ ในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ได้ดำเนินการในแปลงถาวรรูปวงกลมจำนวน 15 แปลง โดยสำรวจเดือนละ I ครั้ง ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2547 ถึง เมยายน 2548 แปลงถาวรรูปวงกลมมีรัศมี 5 เมตร และจุดศูนย์กลางของวงกลมอยู่ห่างจากเส้นทางเดินในระยะตั้งฉาก 10 เมตรออกไปทั้ง 2 ข้างของทางเดิน แต่ละแปลงที่อยู่ข้างเดียวกันของทางเดินห่างกัน 50 เมตร ผลของการสำรวจพบเห็ดทั้งหมด 45 ชนิด สามารถวินิจฉัยชื่อได้ 34 ชนิด ซึ่งจัดอยู่ใน 22 สกุล (genus) 15 วงศ์ (family) 10 อันดับ (order) 2 ชั้นย่อย (subclass) และ 1 ชั้น (class) และไม่สามารถวินิจฉัยชื่อได้ 11 ชนิด เห็ดที่พบถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามบทบาทและหน้าที่ในระบบนิเวศป่าไม้ดังนี้ กลุ่มเห็ดผู้ย่อยสลายอินทรียสารมี 26 ชนิด กลุ่มเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซามี 12 ชนิด และกลุ่มเห็ดที่ไม่สามารถระบุบทบาทและหน้าที่ได้มี 7 ชนิด ในจำนวนเห็ดที่พบทั้งหมด มีเห็ดกินได้ 9 ชนิด คือ Auicularia pobtricha (Mont) Sacc., Clavaria vermicularis Fr. C. zollingeri Lév., Craterellus cinereus (Pers. & Fr.) Pers., Hygrocybe flavescens (Karff.) Sm. & Hes., Oudemansiella radicata (Rehl. & Fr.) Sing., Psathyrella candolleana (Fr. & Fr.) Maire, Schizophyllum commune Fr. และ Tremella fucifornis Berk. เห็ดที่กินได้นี้บางชนิดมีสรรพคุณทางยาด้วย นอกจากนี้เห็ด Microporus vermicipes (Berk.) Kunt. และ Panus fulvus (Berk) Pegler et Rayner ยังสามารถนำไปตกแต่งสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ได้ด้วยค่าดัชนีความหลากหลายของเห็ดในสวนป่าไผ่แต่ละเดือนมีค่าอยู่ระหว่าง0 - 1.932 และพบว่าค่าดัชนี ความหลากหลายของเห็ดแต่ละเดือนมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับปริมาณน้ำฝนแต่ละเดือนอย่างเด่นชัด (P <0.01) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปจัดทำคู่มือสำรวจเห็ดภาคสนาม และแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ ศึกษาเห็ดในสวนป่าไผ่ สำหรับเห็ดกินได้และเห็ดที่มีประโยชน์อื่นๆ อาจเพิ่มปริมาณได้โดยการนำมาเพาะเลี้ยงหรือรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติให้คงอยู่ อันจะก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต
คำสำคัญ: ความหลากชนิดของเห็ด สวนป่าไผ่ มูลนิธิโครงการหลวง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”