การใช้วิธีเอกซเรย์ประเมินคุณภาพเมล็ดไผ่หวานอ่างขาง

Main Article Content

จุติเทพ โพธิปักษ์
บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์
กิตติศักดิ์ จินดาวงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองนำค่าปรับแก้มาประยุกต์ใช้กับวิธีเอกซเรย์ สำหรับใช้ประเมินความมีชีวิตของเมล็ดไผ่หวานอ่างขางที่นำมาใช้ทดสอบในครั้งนี้ให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ผลการศึกษา พบว่าลักษณะทางกายภาพของเมล็ดที่ได้จากการพิจารณาภาพของเมล็ดที่เกิดอยู่บนฟิล์มเอกซเรย์ สามารถแบ่งเมล็ดออกได้เป็น 4 ชั้นคุณภาพ โดยค่าปรับแก้สัดส่วนของความมีชีวิตของเมล็ดในชั้นคุณภาพ I (19.59 %) และ แ (13.93 % ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ ค่าปรับแก้ร่วมของชั้นคุณภาพทั้งสอง คือ 17.63 % เมล็ดในชั้นคุณภาพ III และ IV มีค่าปรับแก้ 4.87 % และ 0 % ตามลำดับ เมื่อนำค่าปรับแก้มาใช้ประเมินความมีชีวิตของเมล็ดไผ่หวานอ่างขาง พบว่า ผลการประเมินความมีชีวิตด้วยวิธีทดสอบความงอกมาตรฐาน (10.25 %) และวิธีเอกซเรย์โดยใช้ค่าปรับแก้ (11.25 %) ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ ขณะที่การประเมินความมีชีวิตของเมล็ด โดยตรงจากวิธีเอกซเรย์ (57.05 %) ได้ผลการทดสอบแตกต่างจากสองวิธีแรกในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เนื่องจากการประเมินความมีชีวิตโดยตรงจากวิธีเอกซเรย์ไม่สามารถตรวจสอบการงันและความแข็งแรงของเมล็ดได้ จึงจำเป็นต้องใช้ค่าปรับแก้ซึ่งได้จากการเอกซเรย์เมล็ดและจัดแบ่งเมล็ดเป็นชั้นคุณภาพต่างๆ แล้วนำคำปรับแก้ที่ได้มาใช้ปรับแก้ค่าความมีชีวิตที่ได้จากการประเมินด้วยวิธีเอกซเรย์ ซึ่งทำให้ผลการทดสอบมีความถูกต้องแม่นยำขึ้น


คำสำคัญ: ไผ่หวานอ่างขาง เอกซเรย์ ความงอก คุณภาพเมล็ด มูลนิธิโครงการหลวง


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ