ระบบการจมชั่วคราวสำหรับการขยายพันธุ์ไผ่หวานอ่างขาง เพื่อการผลิตต้นกล้าในเชิงพาณิชย์

Main Article Content

ยุพา มงคลสุข
มะลิวัลย์ ธนะสมบัติ
รุ่งอรุณ สุ่มแก้ว
ปฏิมา ลิขิตธรรมนิตย์
พนิดา วงษ์แหวน
พนิดา วงษ์แหวน

บทคัดย่อ

การพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiforus) โดยเพาะเลี้ยงส่วนยอดในอาหารสูตร Murashige and Skoog ที่เติม Benzylaminopurine (BAP) 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ Naphthaleneacetic acid (NAA) และ 6-furfurylaminopuri (kinetin) อย่างละ เ มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำมะพร้าว 8 มิลลิลิตรต่อลิตร ในสภาพของการเลี้ยงต่างกัน 3 วิธีคือ เลี้ยงในสภาพอาหารเหลวโดยใช้เทคนิค ระบบการจมชั่วคราว (Temporary Immersion System, TIS ) ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีการให้สารละลายอาหารกับชิ้นส่วนพืชตามระยะเวลาและความถี่ที่สามารถกำหนดได้เป็นเวลา 1 นาทีทุกๆ 1 ชั่วโมงและ 5 นาที ทุกๆ 3 ชั่วโมง ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการเพาะเลี้ยงในอาหารกึ่งแข็งซึ่งเป็นวิธีการเลี้ยงแบบเดิม ผลการทดลองพบว่าสภาพการเลี้ยงที่สามารถเพิ่มปริมาณยอดไผ่ได้สูงสุด ที่เวลา 60 วันคือเทคนิคระบบการจมชั่วคราว โดยการให้ชิ้นส่วนยอดได้รับสารละลายอาหารเป็นเวลา 5 นาทีทุกๆ 3 ชั่วโมง วิธีนี้สามารถผลิตยอดไผ่ได้สูงสุดคือ จำนวน 105 ยอด (อัตราการเพิ่มยอค 7.75 เท่าของจำนวนยอดเริ่มต้น) ในขณะที่การ ได้รับสารละลายอาหาร 1 นาทีทุกๆ 1 ชั่วโมงได้ 83 ยอด (อัตราการเพิ่มยอด 5.92 เท่า) สำหรับการเลี้ยงด้วยอาหารกึ่งแข็งผลิตยอดไผ่ได้ 27 ยอด (อัตราการเพิ่มยอด 1.25 เท่า) ซึ่งระบบการจมชั่วคราว โดยการให้ชิ้นส่วนยอดได้รับสารละลายอาหารเป็นเวลา 5 นาทีทุกๆ 3 ชั่วโมงให้อัตราการเพิ่มปริมาณยอดมากกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารกึ่งแข็ง 6.5 เท่า และยอดที่ได้มีลักษณะสมบูรณ์และมีการยืดยาวมากกว่า ดังนั้นเทคนิคระบบการจมชั่วคราว จึงเป็นเทคนิคที่สมควรนำมาใช้ในการผลิตต้นกล้าไผ่หวานอ่างขางเชิงพาณิชย์ เพื่อการลคต้นทุนการผลิตต้นพืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


คำสำคัญ: ระบบการจมชั่วคราว การขยายพันธุ์ ไผ่หวานอ่างขาง


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ