ลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของกล้าไผ่ต่างชนิด

Main Article Content

ลดาวัลย์ พวงจิตร
ชลิตา ศรีลัดดา

บทคัดย่อ

ลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของกล้าไผ่ 7 ชนิด ที่ปลูกในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ณ สถานีเกษตรหลวงปางตะ จังหวัดเชียงใหม่ โดยวัดอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิด้วยเครื่อง Portable Photosynthesis System (ADC - ICA4) วัดอัตราการใช้น้ำด้วยการชั่งน้ำหนักที่หายไปในแต่ละวัน และวัดค่าการด้านการเปิดปากใบ ด้วยเครื่อง Steady State Porometer ผลการศึกษา พบว่า ในช่วงเช้าอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิเฉลี่ยของกล้าไผ่หวานอ่างขาง ทั้งที่ได้จากการเพาะด้วยเมล็ดและเหง้ามีค่าสูงกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ แต่มีความผันแปรก่อนข้างสูงในรอบวันโดยไผ่หวานอ่างขางที่ได้จากการเพาะด้วยเมล็ดมีความแตกต่างระหว่างช่วงเช้าและบ่ายมากที่สุด ในขณะที่ไผ่ตงมีความผันแปรระหว่างช่วงวันต่ำสุด กล้าไผ่ทุกชนิดมีอัตราการสังเคราะห์สุทธิเฉลี่ยลดลงในช่วงบ่ายไผ่หวานอ่างขาง (เหง้า) ไผ่บงหวานเมืองเลย และไผ่หวานอ่างขาง (เมล็ด) มีอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยต่อวันสูงกว่า ไผ่ชนิดอื่นๆ โดยมีอัตราการใช้น้ำเฉลี่ย เท่ากับ 2.02. 2.01 และ 1.73 มิลลิเมตรต่อวัน ตามลำดับ ความเครียดจากการขาดน้ำของกล้าไผ่สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่แสดงอาการเครียดอย่างรุนแรง คือ ไผ่หวานอ่างขางจากเมล็ดและเหง้า กลุ่มที่แสดงอาการเครียดปานกลาง ได้แก่ ไผ่หยก และ ไผ่มากินหน่อย และกลุ่มที่แสดงอาการเครียดจากการขาดน้ำเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ไผ่บงหวานเมืองเลย ไผ่รวก ไผ่หกหวานลำปาง และไผ่ตง โดยกล้าไผ่ส่วนใหญ่จะแสดงอาการเครียดจากการขาดน้ำในช่วงวันที่ 4 ของการขาดน้ำ ความผันแปรรอบวันของค่าการต้านการเปิดปากใบของกล้าไผ่ทุกชนิดมีความคล้ายคลึงกัน โดยมีค่าสูงในช่วงเช้าและลดลงอย่างต่อเนื่องจนมีค่าสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็น โดยพบว่า ไผ่บงหวานเมืองเลย ไผ่หวานอ่างขาง (เหง้า) และไผ่หกหวานลำปาง มีการตอบสนองของค่าการต้านการเปิดปากใบเนื่องจากการขาดน้ำสูงขึ้นอย่างเด่นชัดตั้งแต่วันที่ 4 ของการขาดน้ำ แสดงให้เห็นว่าในการเพาะกล้าไผ่ไม่ควรปล่อยให้กล้าไผ่มีการขาดน้ำเกิน 4 วันเพราะจะทำให้กล้าไผ่ได้รับความกระทบกระเทือน


คำสำคัญ: ไผ่ ลักษณะนิเวศสรรีรวิทยา การสังเคราะห์แสง การใช้น้ำ


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ