วิธีการป้องกันและกำจัดด้วงงวงเจาะหน่อไผ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีป้องกันกำจัดด้วงงวงเจาะหน่อไผ่ ทำการศึกษาบริเวณแปลงไผ่ปลูกของสถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึง กันยายน พ.ศ. 2548 วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 5 ซ้ำ 5 กรรมวิธีคือ ใช้สารเคมีสังเคราะห์ คลอร์ไพรีฟอส (Chlorpyrifos) อัตรา 75 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้เชื้อราเขียว (Metarhizium anisopliae, green fingi) ใช้น้ำส้มไม้ (wood vincgar) อัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ เ ลิตร ใช้วิธีตัดสาง (thinning) และ ใช้วิธีธรรมชาติ (natural control) ผลการศึกษาพบความเสียหายที่ทำให้หน่อไผ่หวานอ่างขางตายโดยส่วนใหญ่เกิดจากด้วงงวง (Cyrotrachelus sp.) มากกว่าสาเหตุอื่น ซึ่งคิดเป็นอัตราการถูกทำลายและหน่อตายหลังจากโดนด้วงงวงทำลายร้อยละ 39.77 และ 48.86 ตามลำดับ ส่วนการศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดพบว่ากรรมวิธีในการใช้สารเคมีฆ่าแมลงคลอร์ไพรีฟอส และน้ำส้มไม้ มีอัตราการตายของหน่อไผ่น้อย คือร้อยละ 17.99 และ 28.98 ตามลำดับ เมื่อนำมาคำนวณค่าทางสถิติ ระหว่างวิธีควบคุมหรือวิธีทางธรรมชาติ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีทางนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธีที่ใช้เชื้อราเขียว และวิธีตัดสางไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น กรรมวิธีที่ใช้สารเคมีสังเคราะห์คลอร์ไพรีฟอส และน้ำส้มไม้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดด้วงงวงทำลายหน่อไผ่ได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น
คำสำคัญ: ด้วงงวง การป้องกันและกำจัดแมลง คลอร์ไพรีฟอส น้ำส้มไม้ มูลนิธิโครงการหลวง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”