สมบัติของลำไผ่บางชนิดซึ่งปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติเชิงกลของลำไผ่ซึ่งปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มูลนิธิโครงการหลวง 4 ชนิด ได้แก่ ไผ่หยก (Bambusa oเdhamii) ไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ไผ่บงใหญ่ (D. brandisii) และไผ่หก (D. hamiltonii) ที่มีอายุ 3 ปี จากการเปรียบเทียบสมบัติต่างๆ พบว่า สมบัติทางฟิสิกส์ ไผ่หก มีค่าเฉลี่ยทางความยาวของลำ ความยาวปล้อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความหนาของเนื้อไม้มากที่สุด แต่มีปริมาณความชื้นในเนื้อไม้หลังตัดใหม่น้อยที่สุด ซึ่งไผ่หยก มีปริมาณความชื้นในเนื้อไม้หลังตัดใหม่มากที่สุด หลังจากการตัดลำไผ่ การนำลำไผ่ไปผึ่งในกระแสอากาศเพื่อให้ลำไผ่มีปริมาณความชื้นสมดุลเท่ากับความชื้นสมดุลเฉลี่ยของอากาศ ใช้เวลา 75 วัน สำหรับสมบัติเชิงกลไผ่หก ให้ค่าแรงอัด แรงเฉือนขนานเสี้ยน ค่ามอดูลัสการแตกร้าว (Modulus of Rupture : MOR) และค่ามอดูลัสยืดหยุ่น(Modulus of Elasticity : MOE) มากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลระหว่างลำไผ่สภาพสดกับลำไผ่สภาพแห้งของไผ่ทั้ง 4 ชนิด พบว่า ลำไผ่สภาพแห้งมีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าลำไผ่สภาพสดทุกรายการ
คำสำคัญ: สมบัติของลำไผ่ ไผ่หยก ไผ่หวานอ่างขาง ไผ่บงใหญ่ ไผ่หก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”