การผลิตและสมบัติของน้ำส้มไม้และถ่านจากไม้ไผ่และไม้ตัดขยายระยะที่สถานี เกษตรหลวงอ่างขาง โดยใช้เตาเผาถ่านไทย-อิวาเตะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการผลิตและสมบัติของน้ำส้มไม้จากไผ่ และไม้ตัดขยายระยะที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัด เชียงใหม่ โดยใช้เตาเผาถ่านไทย-อิวาเตะ ได้ศึกษาจากพืช 4 ชนิด ได้แก่ ไม้ไผ่ (Bamboo mixed spicies) กระถินดอย (Acacia confusa) เมเปิลหอม (Liquidambar formosana) และจันทร์ทอง (Fraxinus griffithii) พบว่า ในการผลิตถ่านไม้ 1 ครั้ง (ใส่ไม้เต็มเตาปริมาตร 2 ลูกบาศก์เมตร) ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 10 วัน ถ่านที่ใช้ไม้ต่างชนิดกัน ความชื้นในเนื้อไม้ต่างกัน จะได้ปริมาณและสมบัติของน้ำส้มไม้ที่ต่างกัน โดยมีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง 1.006-1.016 ค่า pH อยู่ระหว่าง2.72-4.68 มีสีน้ำตาลใสถึงน้ำตาลเข้ม แต่มีความใสและกลิ่นควันไฟเหมือนกัน น้ำส้มไม้ที่ได้จากไม้ไผ่จะมีสีน้ำตาลแดง ซึ่งแตกต่างจากไม้ชนิดอื่นอย่างเด่นชัด น้ำส้มไม้จากไม้ไผ่มีสมบัติได้ตามมาตรฐานของสมาคมน้ำส้มไม้แห่งประเทศญี่ปุ่น ส่วนถ่านที่ได้จากการผลิต สมบัติของถ่านชั้นบนของเตาจะมีค่าปริมาณคาร์บอนเสถียรมากกว่าถ่านชั้นล่าง แต่ปริมาณสารระเหยและปริมาณความชื้นน้อยกว่าถ่านชั้นล่าง ขณะเดียวกันถ่านชั้นล่างจะมีค่าปริมาณขี้เถ้าและค่าความร้อนน้อยกว่าถ่านชั้นบน
คำสำคัญ: น้ำส้มไม้ ถ่าน เตาเผาถ่านไทย-อิวาเตะ ไผ่ มูลนิธิโครงการหลวง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”