สมบัติของแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง จากไผ่หก และไผ่หวานอ่างขางต่างชั้นอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติของแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นป่านกลางที่ผลิตจากไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ของสถานีเกษตรหลวงปางคะ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีชั้นอายุแตกต่างกัน 5 ชั้นอายุ คือ 1, 2, 3, 4 และ 5 ปี ใช้ปริมาณกาวเรียฟอร์มาลดีไฮด์ ในการผลิต 3 ระดับ คือ ร้อยละ 6, 10 และ 14 ของน้ำหนักส้นใยแห้ง และทำการทดสอบสมบัติเชิงกลและทางกายภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 966-2547 และเกณฑ์มาตรฐาน JIS A 5906-1994 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ไผ่หวานอ่างขางมีความเหมาะสมมากกว่าไผ่หกในการนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง โดยแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางที่ทำจากไผ่หกชั้นอายุ 4 ปี และไผ่หวานอ่างขาง ชั้นอายุ 1, 2. 4 และ 5 ปี ที่ระดับปริมาณกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ ร้อยละ 14 มีสมบัติผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 966-2547 และเกณฑ์มาตรฐาน JIS A 5906- 1994 กำหนด แต่เมื่อใช้ระดับปริมาณกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮค์ ร้อยละ 10 พบว่ามีเพียงผลิตแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางที่ทำจากไผ่หวานอ่างขาง ชั้นอายุ 5 ปี เท่านั้นที่สมบัติไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด
คำสำคัญ: MDF ไผ่หก ไผ่หวานอ่างขาง มูลนิธิโครงการหลวง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”