การใช้ประโยชน์ใบกาบเปลือกหน่อไผ่และกิ่งไผ่หวานอ่างขาง และไผ่หยก

Main Article Content

วิชัย หฤทัยธนาสันดิ์
วุฒินันท์ คงทัด
วารุณี ธนะแพสย์
ชัยพร สามพุ่มพวง
สาริมา สุนทรารชุน

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบ กาบ เปลือกหุ้มหน่อไผ่ และกิ่งไผ่หวานอ่างขางและไผ่หยก ผลการศึกษาใบไผ่หวานอ่างขางที่เหมาะสมนำมาห่อบะจ่าง คือ ใบที่ 5-8 จากปลายใบมีความกว้างเฉลี่ย 9.43 เซนติเมตร ยาว 38.78 เซนติเมตร น้ำหนักสดเฉลี่ย 3.6ร กรัม และน้ำหนักแห้งเฉลี่ย 1.57 กรัม ฟิกซ์สีด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต 1% เวลา นาที ฆ่าเชื้อด้วยสารละลายคลอรีน 100 Ppm เวลา 30 นาที ผึ่งแห้งที่อุณหภูมิห้องจะได้ใบไผ่ที่มีสีเขียว วัดค่าสี L*a*b* ได้ 63.83, 1407 และ 11.65 ความชื้น 897 ค่า Aw 0.496 เชื้อจุลินทรีย์ ยีสต์ และรา < 10 โคโลนีต่อกรัม ไม่พบเชื้อโคลิฟอร์มและแบคทีเรีย การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อใบไผ่ค่อนข้างดีมาก สภาวะต้มเยื่อใบไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 25% ของน้ำหนักแห้ง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง ได้เยื่อเฉลี่ยไผ่หวานอ่างขาง 30.48% ไผ่หยก 11.32% สภาวะต้มกาบไผ่ที่เหมาะสม คือใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 30% อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 6 ชั่วโมง ได้เยื่อ 39.50% สภาวะต้มเปลือกหน่อไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 35% อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 6 ชั่วโมง ได้เยื่อ 35.70% สภาวะต้มกิ่งไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 40% อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 10 ชั่วโมง ได้เยื่อเฉลี่ยจากไผ่หวานอ่างขาง 36.23% และไผ่หยก 34.73% สภาวะฟอกเยื่อกาบไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 8% โซเคียมซิลิเกต 2% แมกนีเซียมซัลเฟต 0.05และโซเดียมไฮดรอกไซด์ เ.5% ของน้ำหนักแห้ง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง วัดความขาวสว่างได้ 59.06% สภาวะฟอกเยื่อกึ่งไผ่ที่เหมาะสม คือ ใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 25% โซเดียมซิลิเกต 2% แมกนีเซียมซัลเฟต 0.05% และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1.5% ของน้ำหนักแห้ง วัดความขาวสว่างได้ 54.29% คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดายใบไผ่ ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 125 5 g/m2 ความด้านการหักพับ 9.22 ครั้ง ความต้านแรงดึง 7.49 N.m/g ความเรียบ 1.32 วินาที ความด้านแรงฉีกขาด 14.61 mN.m2/g ความด้านแรงดันทะลุ 1.596 kPa.m2/gและความขาวสว่าง 40.09% คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดาษกาบไผ่ไม่ฟอกขาว ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 125 ± 5 g/m2 ความต้านการหักพับ 17.11 ครั้ง ความต้านแรงดึง 933 N.m/g ความเรียบ 0.95 วินาที ความด้านแรงฉีกขาด 16.53 mN.m2/g ความต้านแรงดันทะลุ 1.864 kPa.m2/g และความขาวสว่าง 47.46% คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดาษกาบไผ่ฟอกขาว ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 125 ± 5 g/m2 ความต้านการหักพับ 24.77 ครั้ง ความด้านต่อแรงดึง 9.49 N.m/g ความเรียบ 1.13 วินาที ความต้านแรงฉีกขาด 19.57 mN.m2/g ความด้านแรงดันทะลุ 1.973 kPa.m2/g และความขาวสว่าง 68.37% คุณสมบัติทางเชิงกลของกระดาษกิ่งไผ่ฟอกขาว ประกอบด้วย น้ำหนักมาตรฐาน 125 5 g/m2 ความต้านการหักพับ 1.33 ครั้ง ความด้านต่อแรงดึง 6.19 N.m/g ความเรียบ 1.95 วินาที ความด้านแรงฉีกขาด 15.63 mN.m2/g ความต้านแรงดันทะลุ 1.632 kPa.m2/g และความขาวสว่าง 70.07% จากการศึกษาทดลองปรากฎว่าใบไผ่พันธุ์หวานอ่างขางสามารถใช้ห่อบะจ่างได้ และกระดาษจากใบไผ่ กาบไผ่ และกิ่งไผ่ สามารถใช้งานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์ได้ดี


คำสำคัญ: การใช้ประ โยชน์ ผลิตผลรองของไผ่ ไผ่หวานอ่างขาง ไผ่หยก มูลนิธิโครงการหลวง


 

Downloads

Article Details

How to Cite
หฤทัยธนาสันดิ์ ว. ., คงทัด ว. ., ธนะแพสย์ ว. ., สามพุ่มพวง ช. ., & สุนทรารชุน ส. . (2022). การใช้ประโยชน์ใบกาบเปลือกหน่อไผ่และกิ่งไผ่หวานอ่างขาง และไผ่หยก. วารสารวนศาสตร์ไทย, 26(Supplementrary), 93–104. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/255905
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ