ความผันแปรในความยาวเส้นใยของลำไม้ไผ่หยกอายุ 3 ปี

Main Article Content

วิขัณฑ์ อรรณพานุรักษ์
นิคม แหลมสัก

บทคัดย่อ

การศึกษาความผันแปรในความยาวเส้นใยของลำไผ่หยกอายุ3 ปี ซึ่งปลูกทดลองในบริเวณสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาแนวทางนำมาใช้ประโยชน์ โดยการเปรียบเทียบระหว่างลำไผ่ ความสูง แนวรัศมี และในแนวรัศมี ใช้ลำไผ่ตัวอย่าง 2 ลำในแต่ละลำวัดความยาวเส้นในแนวรัศมี 3 ตำแหน่ง ระหว่างรัศมี 4 แนว และระดับความสูง 3ระดับ ผลของการศึกษาพบว่ามีช่วงค่าเฉลี่ยความยาวเส้นใยของลำไผ่ 2.46 -2.94 มม. โดยความยาวเส้นใยของลำไผ่ที่แตกต่างกัน เกิดจากลำไผ่ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างลำและความสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) แต่ระหว่างความสูงแนวรัศมี ระยะห่างจากภายในถึงภายนอกของแนวรัศมี ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระยะห่างจากภายในถึงภายนอกของแนวรัศมีกับลำปฏิกิริยาสัมพันธ์ระยะห่างจากภายในถึงภายนอกของแนวรัศมีกับความสูง และปฏิกิริยาสัมพันธ์ทั้งสามอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในความแตกต่างระหว่างลำไผ่มีองค์ประกอบของความผันแปรทั้งหมดและความผันแปรจากการสุ่มทั้งหมดสูง และความแตกต่างระหว่างความสูงก็มีองค์ประกอบของความผันแปรทั้งหมดต่ำกว่า ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นจากส่วนโคนถึงส่วนปลายอย่างเห็นได้ชัด และระยะห่างระหว่างจากภายในถึงภายนอกของแนวรัศมีไม่มีองค์ประกอบของความผันแปรทั้งความผันแปรทั้งหมดและความผันแปรจากการสุ่มทั้งหมด ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างระยะห่างจากภายในถึงส่วนกลางแล้วลดลงเล็กน้อยในภายนอก สำหรับสัณฐานเส้นใยของลำได้ประเมินในศักยภาพเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตเยื่อกระดาษแล้วทำให้ทราบว่ากระดาษที่ได้นั้นมีลักษณะหยาบละกรประสานตัวระหว่างส้นใยไม่ดี จึงให้ค่าความต้านแรงดึง แรงคันทะลุ และแรงหักพับต่ำลง แต่ความต้านแรงฉีกขาดสูง


คำสำคัญ: ไผ่หยก ความยาวเส้นใย มูลนิธิโครงการหลวง


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ