การศึกษาสังคมพืชบริเวณพื้นที่ป่าเขาเกษตรและความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

Main Article Content

อรนุช ค้อไผ่

บทคัดย่อ

ศึกษาสังคมพืชในบริเวณพื้นที่ป่าเขาเกษตร ซึ่งอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในระหว่างเดือน มกราคม 2546 ถึง ธันวาคม 2547 โดยทำการวางแปลงตัวอย่าง 10 x 10 ตารางเมตร จำนวน 50 แปลง เพื่อศึกษาลักษณะเชิงปริมาณ และวางแปลงตัวอย่าง ขนาด 10 x 50 ตารางเมตร  จำนวน 2 แปลง เพื่อทำการวิเคราะห์การจำแนกชั้นทั้งโครงสร้างด้านตั้งและการปกคลุมของเรือนยอด และจัดทำบัญชีรายชื่อพรรณไม้ในวิทยาเขตศรีราชา โดยวิธีการเดินสำรวจไม้ยืนต้นทุกชนิด (ยกเว้นพรรณไม้ในวงศ์ Palmae) ผลการศึกษาในป่าเขาเกษตร พบพรรณไม้ รวม 129 ชนิด จาก 116 สกุล  46 วงศ์ ป่าเขาเกษตรเคยเป็นป่าเบญจพรรณมาก่อน แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนเปิดโล่งเพราะไฟป่า ทำให้เกิดการทดแทนแบบทุติยภูมิ ต้นไม้ส่วนใหญ่มีลำต้นขนาดเล็กมาก และพบชนิดพรรณไม้ในสังคมป่าดิบแล้งขึ้นปะปนอยู่ในบางแห่งของพื้นที่ ชนิดไม้ยืนต้นเด่น คือ มะนาวผี รองลงมา ได้แก่ แสลงพัน กุ๊ก ขี้อ้าย พลับดง และเม่าไข่ปลา ชนิดไม้รุ่นที่พบมาก ได้แก่ มะนาวผี รองลงมา ได้แก่ แสลงพัน และนมช้าง ในชั้นพื้นล่างของป่าพบกล้าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสังคมพวกหญ้า คือ เสือแกรก รองลงมา ได้แก่ สาบเสือ แสลงพัน ข่อย มะนาวผี ผักหวานเมา คนทา และหนอนตายหยาก ส่วนผลการสำรวจในวิทยาเขตศรีราชา พบไม้ยืนต้น รวม 161 ชนิด จาก 131 สกุล และ 54 วงศ์ รวม 2,267 ต้น ชนิดไม้ยืนต้นที่พบจำนวนมากที่สุดและมีจำนวนมากกว่า 100 ต้น คือ มะม่วง รองลงมา ได้แก่ ประดู่ สัตตบรรณ และนนทรี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ