การประเมินการสูญเสียมวลชีวภาพจากการเกิดไฟป่าในป่าเต็งรังบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยเทคนิคการสำรวจจากระยะไกล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้เทคนิคการสำรวจจากระยะไกลเพื่อประเมินการสูญเสียมวลชีวภาพจากการเกิดไฟป่า ในพื้นที่ป่าเต็งรัง ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นั้นได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณมวลชีวภาพที่ผิวดินในรูปปริมาณเชื้อเพลิงใบ ที่กำหนดให้เป็นตัวแปรตาม (Y) กับค่าสัดส่วนของสิ่งปกคลุมพืชสีเขียว (fc) และค่าดัชนีพืชพรรณแบบต่าง ๆ ที่ได้จากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 5 TM ที่กำหนดให้เป็นตัวแปรอิสระ (X) ซึ่งทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเพื่อหาสมการความสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการประมาณค่าปริมาณมวลชีวภาพที่ผิวดินในรูปปริมาณเชื้อเพลิงใบในพื้นที่ศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการประเมินการสูญเสียมวลชีวภาพที่ผิวดินในรูปปริมาณเชื้อเพลิงใบจากการเกิดไฟป่า ทั้งพื้นที่ศึกษาผลการศึกษา พบว่า การประมาณค่าปริมาณมวลชีวภาพที่ผิวดินในรูปปริมาณเชื้อเพลิงใบ ในป่าเต็งรัง จากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 5 TM สมการรูปแบบเส้นตรงของความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณเชื้อเพลิงใบ (Y) กับค่าสัดส่วนของสิ่งปกคลุมพืชสีเขียว (fc) และค่าการหารแบบง่าย (simple division; IR/R) เป็นสมการที่ดีที่สุด คือ Y = 3284.036(fc) – 855.018(IR/R) + 559.036 (R2 = 0.598)ได้ปริมาณเชื้อเพลิงใบ เฉลี่ยเท่ากับ 499.82 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียปริมาณเชื้อเพลิงใบจากการเกิดไฟป่า เท่ากับ 35.34 % ปริมาณการสูญเสียปริมาณเชื้อเพลิงใบจากการเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าเต็งรัง เท่ากับ 6,359,971.21 กิโลกรัม หรือ 6,359.97 ตัน และประมาณพื้นที่ที่เกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าเต็งรัง เท่ากับ 36,005.85 ไร่ ในปี 2548
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”