ผลกระทบของกิจกรรมนันทนาการต่อพฤติกรรมและการใช้พื้นที่ ของกวางป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของกวางป่าต่อกิจกรรมส่องสัตว์ ในเขตบริการของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และศึกษาเปรียบเทียบการใช้พื้นที่ของกวางป่าในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ของนักท่องเที่ยวและช่วงฤดูกาลที่แตกต่างกัน โดยใช้วิธีการ spotlight count สำหรับกิจกรรม
ส่องสัตว์ และใช้วิธีการวางแปลงสำรวจรอยตีนกวางป่าบริเวณเส้นทางเดินป่า 2 เส้นทาง ที่มีสภาพป่าคล้ายคลึงกัน แต่มีระดับการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2547 ถึงเดือนกันยายน 2548 ผลการศึกษาพบว่า จำนวนของกวางป่าในช่วงวันที่มีปริมาณรถส่องสัตว์สูง และวันที่มีปริมาณรถส่องสัตว์ต่ำไม่แตกต่างกัน (t=0.238; P= 0.814) และปริมาณรถส่องสัตว์ไม่มีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาตอบสนองของกวางป่า (c2= 5.897; df = 3; P= 0.117) แต่ระยะเวลาในการหยุดกิน (ตื่นตัว เดินหนี และวิ่งหนี) ของกวางป่าเมื่อถูกไฟส่องในช่วงฤดูกาลที่มีปริมาณนักท่องเที่ยวสูง (เฉลี่ย 10.97 นาที/ชั่วโมง) แตกต่างกับระยะเวลาในการหยุดกินในช่วงฤดูกาลที่มีปริมาณนักท่องเที่ยวต่ำ (2.52 นาที/ชั่วโมง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.127; P=.008) และการหยุดกินมีความสัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างกวางป่ากับรถส่องสัตว์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2= 103.259; df = 6; P = 0.000) โดยกวางป่าที่อยู่ใกล้ถนนจะหยุดกินมากกว่ากวางป่าที่อยู่ห่างจากถนน ในส่วนของการใช้พื้นที่ของกวางป่าบริเวณเส้นทางเดินป่าที่มีปริมาณการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เข้มข้นกับเส้นทางที่มีปริมาณการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เบาบาง พบว่าการใช้พื้นที่ของกวางป่ามีความแตกต่างกัน ทั้งในป่าดิบแล้ง (t=4.937; P=0.000) และทุ่งหญ้า (t=2.960; P= 0.008) เฉพาะทุ่งหญ้าที่มีการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เบาบาง ภายหลังการชิงเผา พบว่าระยะห่างจากเส้นทางฯ มีอิทธิพลต่อการใช้พื้นที่ของกวางป่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=5.153; P= 0.033; R2=0.190) โดยรอยตีนกวางป่าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงระยะห่าง 0-80 เมตร และฤดูกาลส่งผลต่อการใช้พื้นที่ของกวางป่า ทั้งเส้นทางที่มีการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เข้มข้น (ป่าดิบแล้ง t=8.831; P= 0.000 ทุ่งหญ้า t=12.120; P= 0.000) และเส้นทางที่มีการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เบาบาง (ป่าดิบแล้ง t=7.674; P= 0.000 ทุ่งหญ้า t=16.066; P= 0.000)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”