ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกชุมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กับความหลากชนิดและการกระจายของเห็บแข็ง (Acari: Ixodidae) ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกชุมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ความหลากชนิดและการกระจายของเห็บแข็ง และความสัมพันธ์ระหว่างความหลากชนิดและการกระจายของเห็บแข็ง (Acari: Ixodidae) กับความชุกชุมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบริเวณสังคมพืชต่าง ๆ ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดย สุ่มวางแปลงตัวอย่างขนาด 1 x 10 ม. จำนวน 50 แปลง บนแนวเส้นสำรวจยาว 500 ม. จำนวน 2 แนว บริเวณป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้าป่ารุ่น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น บันทึกข้อมูลร่องรอยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถจำแนกได้ชัดเจนและเก็บตัวอย่างเห็บแข็ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึง เดือนตุลาคม 2548 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเห็บแข็งกับความชุกชุมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดย Spearman’s Rank Correlation และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเห็บแข็งกับปัจจัยแวดล้อมโดยการจัดลำดับกลุ่มเห็บแข็งตามปัจจัยแวดล้อมด้วยวิธี CCA (Canonical Correspondence Analysis) ผลการสำรวจร่องรอยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบจำนวน 12 ชนิด 10 สกุล ใน 8 วงศ์ จาก 4 อันดับ กวางมีความชุกชุมมากที่สุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากพบบริเวณทุ่งหญ้าป่ารุ่น เห็บแข็งพบจำนวน 8 ชนิด จาก 3 สกุล จำนวน 554 ตัว โดย Haemaphysalis lagrangei เป็นชนิดที่มากสุด ป่าดิบชื้นพบเห็บแข็งจำนวนมากที่สุด ส่วนป่าดิบเขามีความหลากชนิดของเห็บแข็งสูงสุด สำหรับป่าดิบชื้นกับป่าดิบแล้งมีความคล้ายคลึงกันของชนิดเห็บแข็งมากที่สุด การกระจายของเห็บแข็งเป็นแบบกลุ่ม ความชุกชุมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกับการแพร่กระจายของเห็บแข็งเกี่ยวข้องกันอย่างไม่ชัดเจน และไม่ปรากฏปัจจัยแวดล้อมใดที่มีอิทธิพลต่อเห็บแข็งอย่างเฉพาะเจาะจง ยกเว้นความชื้นสัมพัทธ์เท่านั้นที่มีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ การปรากฏของเห็บแข็งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อาจขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกันในแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันไปทั้ง ปริมาณโฮสต์ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และลักษณะสิ่งปกคลุม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”