การศึกษาขนาดประชากรของต้นมะพร้าวลิงในป่าชุมชน เขาพระพุทธบาทน้อย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาขนาดประชากรของต้นมะพร้าวลิงในพื้นที่ป่าชุมชนเขาพระพุทธบาทน้อย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้เทคนิควางแนวสำรวจแบบ strip transect ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเพียง 1 ปีรวม 2 ครั้ง คือในช่วงฤดูแล้งสำหรับตรวจนับจำนวนต้นโตเต็มวัยของต้นเพศผู้และต้นเพศเมียซึ่งพิจารณาจากการออกโคน และในช่วงฤดูฝนเพื่อตรวจนับจำนวนต้นของมะพร้าวลิงในแต่ละช่วงของการเจริญโต ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้นกล้าไม้รุ่นและต้นโตเต็มวัย การศึกษาได้วางแนวสำรวจแบบเลือกตามเส้นทางเดินป่าของชาวบ้านจำนวน 4 แนว คิดพื้นที่ศึกษาเป็น 3.1% (0.152 ตารางกิโลเมตร) ของพื้นที่ทั้งหมดของป่าชุมชนเขาพระพุทธบาทน้อยที่มีทั้งหมดประมาณ 4.8 ตารางกิโลเมตร พบว่าขนาดประชากรรวมของทุกช่วงการเจริญเติบโตของต้นมะพร้าวลิงอยู่ที่ในช่วง 231 25 - 312.5 ต้นต่อตารางกิโลเมตร ปัญหาคุกคามรุนแรงมากที่สุดต่อการลดลงของขนาดประชากรต้นมะพร้าวลิงคือปัญหาการลักลอบขุดล้อมต้นโตเต็มวัยไปขาย รองลงมา เมล็ดอ่อนและใบอ่อนของต้นกล้าถูกทำลายโดยลิงแสม ผลการศึกษาในครั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานต่อการจัดการในลักษณะของการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดของต้นมะพร้าวลิงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”