การตั้งตัวของกล้าไม้ถาวรในสวนป่ายูคาลิปตัสและพื้นที่เปิดโล่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกป่าเป็นวิธีการที่ดีในการช่วยลดระยะเวลาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยทั่วไปจะเป็นการปลูกพืชโตเร็วในขั้นตอนแรกก่อนต่อจากนั้นจึงนำพันธุ์ไม้ดั้งเดิมเข้าปลูกเสริมเพื่อให้ได้ป่าธรรมชาติเดิมกลับคืนมาการศึกษาในครั้งนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ป่าดิบแล้งที่เสื่อมโทรม บริเวณสถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมีนาคม 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 โดยคัดเลือกพรรณไม้ 9 ชนิด คือ ตะเคียนทอง เคี่ยมคะนอง พะยอม รัง ยางนา เขลง ประดู่ แดง และ อะราง มาทดสอบอัตราการงอกและการรอดตายของกล้าไม้ ในสภาพปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน 3 พื้นที่ คือ พื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 4 และ 20 ปี และพื้นที่เปิดโล่ง ผลการศึกษาพบว่า ความชื้นของดินมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละพื้นที่ แต่พบว่าดินชั้นบนในพื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 20 ปีมีความชื้นสูงเกือบตลอดปีอย่างไรก็ตามในดินชั้นกลางไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนปริมาณแสงส่องผ่านเรือนยอดมีค่าต่ำสุดในพื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 20 ปี และสูงที่สุดในพื้นที่เปิดโล่ง ผลการศึกษาอัตราการรอดตายของกล้าไม้ พบว่า กล้าไม้ของพันธุ์ไม้เด่นในสังคมป่าดิบแล้งสามารถรอดตายและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 20 ปี ส่วนกล้าไม้ของพันธุ์ไม้เด่นในสังคมป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบมีอัตราการรอดตายและเจริญเติบโตได้ดี ในสวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 4 ปี และพื้นที่โล่ง และอัตราส่วนมวลชีวภาพระหว่างรากต่อลำต้นของกล้าไม้ พบว่า กล้าไม้ของป่าดิบแล้งมีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน คือ มีค่าประมาณ 1 ในขณะที่กล้าไม้จากป่าอีก 2 ชนิด (ป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบ) มีอัตราส่วนที่มากกว่า 1 เมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของกล้าไม้ต่อการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับสู่ป่าดั้งเดิม พบว่า ในพื้นที่สวนป่าที่มีอายุมาก มีร่มเงาสูง เช่น พื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัสอายุ 20 ปี ควรส่งเสริมให้ปลูก เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ยางนา และเขลง และในพื้นที่สวนป่าที่มีอายุน้อย มีปริมาณแสงสว่างพื้นป่าสูง หรือพื้นที่ที่ถูกบุกรุกใหม่ กล้าไม้ที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการปลูก คือ รัง ประคู่ แดง และ อะราง อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้พะยอม สามารถนำไปใช้ในการปลูกได้ทั้งในสภาพพื้นที่แห้งแล้งและชั้นสูง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”