ความหลากชนิดของมดบริเวณห้วยเขย่งอำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากชนิดของมด บริเวณห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบความหลากชนิด ซึ่งใช้การเก็บตัวอย่าง 4 วิธีคือ 1) การใช้ตะแกรงร่อนซากพืช 2) การใช้กับดักน้ำหวาน 3 การจับด้วยมือ และ 4) การร่อนดินโดยสุ่มวางแนวสำรวจความยาว 90 เมตร ใน 4 ชนิดป่าคือ 1) ป่าดิบแล้ง 2) ป่าผสมผลัดใบระดับต่ำ 3) ป่าผสมผลัดใบระดับสูงแล้ง และ 4) ป่าผสมผลัดใบที่ถูกทำลาย ผลการศึกษาพบมดทั้งสิ้น 202 ชนิด 56 สกุล 9 วงศ์ย่อย ในป่าดิบแล้งมีจำนวนชนิดมากที่สุด และป่าผสมผลัดใบระดับต่ำมีจำนวนชนิดน้อยที่สุด โดยมดที่อาศัยตามผิวดินและซากพืชมีจำนวนชนิดมากกว่ามคที่อาศัยในดินและตามต้นไม้หรือไม้พื้นล่าง พบมดจำนวน 9 ชนิดที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมได้ดี ทำให้มดในกลุ่มนี้มีการกระจายได้ทั้งสี่ชนิดป่า
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”