ผลของอายุไม้และการปฏิบัติเบื้องต้นต่อชิ้นไม้สับต่อสมบัติของเยื่อกลเชิงเคมีจากไม้ตีนเป็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของอายุไม้ การปฏิบัติเบื้องต้นต่อชิ้นไม้สับ และปริมาณความเข้มข้นสารเคมีที่ใช้ที่มีต่อสมบัติของเยื่อกลเชิงเคมีไม่ฟอกครั้งนี้ ได้พิจารณาใช้ไม้ตีนเป็นอายุ 5 7 และ 9 ปี เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นชิ้นไม้สับและทำการปฏิบัติเบื้องต้นโดยใช้โซดาไฟและอัลคาไลน์ ซัลไฟต์ ที่ปริมาณความเข้มข้นสารเคมีร้อยละ 10 และ 20 ผลการศึกษาพบว่าผลผลิตเยื่ออยู่ระหว่างร้อยละ 56.72-67.74 โดยมีค่าดัชนีแรงดึง ดัชนีแรงฉีก และความขาวสว่างอยู่ระหว่าง 4.99.23.14 Nm/g 1.01-3.85 mN.m2/g และ 22.72-38.62% ISO ตามลำดับ ชิ้นไม้สับที่ได้รับการปฏิบัติเบื้องต้นด้วยอัลคาไลน์ ซัลไฟต์จะให้ปริมาณผลผลิตเยื่อที่สูงกว่า เยื่อที่ได้สามารถตีเยื่อได้ง่ายและขาวสว่างกว่ากรณีของชิ้นไม้สับที่ได้รับการปฏิบัติเบื้องต้นด้วยโซดาไฟ การเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ในการปฏิบัติเบื้องต้นต่อชิ้นไม้สับด้วยโซดาไฟจะทำให้ผลผลิตเยื่อลดลง โดยเชื่อที่ได้มีความแข็งแรงและความขาวสว่างมากขึ้น ในขณะที่ชิ้นไม้สับที่ได้รับการปฏิบัติเบื้องต้นด้วยอัลคาไลน์ ซัลไฟต์ จะให้เยื่อที่มีความแข็งแรงและความขาวสว่างที่ด้อยกว่าเมื่อมีการใช้ปริมาณความเข้มข้นสารเคมีเพิ่มขึ้น ไม้ตีนเป็ดอายุ 9 ปี ให้ผลผลิตเยื่อมากที่สุด ส่วนไม้ตีนเป็ดอายุ 5 ปี ให้เยื่อที่มีความแข็งแรงและความขาวสว่างที่ดีกว่าเยื่อที่ผลิตจากไม้ตีนเป็ดอายุ 7 และ 9 ปี แม้ว่าจะตีเยื่อได้ยากกว่าก็ตาม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”