การมีส่วนร่วมของชาวปกากญอในโครงการพืชสมุนไพร ตามพระราชดำริฯ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการมีส่วนร่วมของชาวปกากญอที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการพืชสมุนไพรตามพระราชดำริฯ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนจำนวน 160 ครัวเรือน ตามแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น และประมวลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ (Chi-square) และค่า Fishers Exact Test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่าเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.6 หญิงร้อยละ 49.4 มีอายุเฉลี่ย 43 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ เกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ย 33,968 บาทต่อปี และรายจ่ายเฉลี่ย 28,932 บาทต่อปี ภูมิลำเนาเดิมของราษฎรส่วนใหญ่เกิดที่นี่ร้อยละ 83.1 โดยมีระยะเวลาตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 39 ปีไม่เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมร้อยละ 50.6 มีการเข้าร่วมกลุ่มในการทำกิจกรรมปลูกป่าในบริเวณหมู่บ้านร้อยละ 84.4 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับพืชสมุนไพรร้อยละ 70.0 การได้รับข้อมูล/ข่าวสารเกี่ยวกับพืชสมุนไพรร้อยละ 80.6 ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรอยู่ในระดับความรู้สูงร้อยละ 70.6 มีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรร้อยละ 97.4 กิจกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการพืชสมุนไพรอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 62.5 ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชาวปกากญอในโครงการพืชสมุนไพร ตามพระราชดำริฯ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการฝึกอบรมเกี่ยวกับพืชสมุนไพร และการเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าดังนั้นเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาพื้นที่หมู่บ้านควรให้ความสำคัญในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมเกี่ยวกับพืชสมุนไพร ตลอดจนส่งเสริมให้ชาวปกากญอเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าในโครงการพืชสมุนไพรให้มากขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”