ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรในการจัดการป่าชุมชนดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนคงใหญ่ โดยสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบข้อสมมติฐาน ด้วยวิธี t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่เฉลี่ย 52.36 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา อาชีพรอง เลี้ยงสัตว์จำพวกโคและกระบือ รายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 62,056.37 บาทต่อปี ขนาดพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 19.20 ไร่ระยะเวลาในการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 49.43 ปี ราษฎรส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ได้รับข่าวสารในระดับปานกลางคือ 2 -3 ครั้ง แหล่งข้อมูลข่าวสารได้รับจากหอกระจายข่าว ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ ระดับคะแนนของความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชนเฉลี่ยเท่ากับ 14.05 คะแนน การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนส่วนใหญ่เข้าไปเก็บเห็ดและไม้พื้น การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนจะแบ่งออกเป็น 6 ด้านคือ การเสนอความคิดเห็นและสาเหตุของปัญหา การวางแผนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานป่าชุมชน การประชาสัมพันธ์ข่าวสารป่าชุมชน การบำรุงรักษาและป้องกันป่าชุมชน การติดตาม การประเมินผล และการตรวจสอบการดำเนินงานป่าชุมชน โดยมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนดงใหญ่ ได้แก่ ระดับการศึกษา การมีตำแหน่งทางสังคม การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับป่าชุมชน การมีความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชน และการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”