การสืบต่อพันธุ์และการติดผลของสักโดยแมลงผสมเกสรที่สำคัญในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์

Main Article Content

สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ
วัฒนชัย ตาเสน

บทคัดย่อ

การศึกษาเกี่ยวกับการสืบต่อพันธุ์ของสักดำเนินการที่สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่กา จังหวัดพะเยาระหว่างเดือนเมษายน 2545 ถึงกันยายน 2546 ที่ระยะปลูก 6x6 ม และ 12x12 ม พบว่า อัตราการร่วงของดอกและผล และค่าความสำเร็จของการสืบพันธุ์ของต้นสัก ณ แปลงที่ศึกษา มีค่าใกล้เคียงกันและไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าผลสักที่ระยะปลูก 6x6 ม มีความสมบูรณ์กว่าเล็กน้อยคือ มีค่าเฉลี่ยสัดส่วน seed/ovule (0.134 ±0.003) สูงกว่าระยะปลูก 12x12 ม (0.118 ±10.003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการเฝ้าติดตามแมลงที่ลงตอมออกสักให้เกิดการผสมเกสรเองตามธรรมชาติระหว่างเวลา 0900-1300 น และนับการติดผลระยะแรก (7 วันหลังผสมเกสร) พบว่า แมลงขนาดใหญ่ ซึ่งตอมดอกสักระหว่างช่อและระหว่างค้นได้ดี คือผึ้งเจาะรูดิน ก่อให้เกิดการติดผลมากที่สุด (เฉลี่ย 38.52%) รองลงมาเป็นต่อเสือ (เฉลี่ย 37.3496) รองลงมาเป็นกลุ่มผึ้งป่าที่ขนาดเล็กกว่าและมีพฤติกรรมการหาอาหารย้ายจากดอกหนึ่งไปอีกดอกหนึ่งในช่วงสั้นๆ หรือมักจะตอมดอกอยู่ที่ช่อเดิมหรือภายในต้นเดิม ได้แก่ ชันโรงคอลลินา ชันโรงลาวิเซบ ชันโรงเทอร์มินาตา ผึ้งรูดิน ผึ้งเจาะหลอดไม้ และผึ้งมิ้ม ก่อให้เกิดการติดผลเฉลี่ยร้อยละ 29.41, 27 59, 23.53, 23.08. และ 22.64 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ