การประเมินมูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า โดยวิธีต้นทุนการเดินทางระดับเขต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าโดยวิธีต้นทุนการเดินทางระดับเขต ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมได้จากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวจำนวน 626 ราย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 60.38 จำนวนครั้งที่มาเที่ยวอุทยานภูหินร่องกล้าส่วนใหญ่มาครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 57.19 พาหนะที่ใช้ในการเดินทางมาส่วนมากเป็นรถยนต์ส่วนตัวร้อยละ 85.78 ระยะเวลามาเที่ยวส่วนมากมีระยะเวลา 2 วันร้อยละ 69.81 และค่าใช้จ่ายในการเดินมาอุทยานแห่งชาติต่อครั้งส่วนมากอยู่ระหว่าง 250-500 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.23 อุปสงค์ในการมานันทนาการ ณ อุทยานแห่งชาตินี้มีความสัมพันธ์ผกผันกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีค่า R2 = 0.546 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีค่าเท่ากับ 55,450,717.50 บาทต่อปี และมูลค่าทางนันทนาการภายใต้การจัดการอย่างยั่งยืนมีค่าเท่ากับ 1,008,194,863.63 บาท ผลจากการศึกษาครั้งนี้เรามารถนำมูลค่าทางนันทนาการมาใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการดูแลและพัฒนาพื้นที่อุทยานแห่งชาติรวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน ตลอดจนทำการพัฒนาสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”