การเปรียบเทียบความหลากชนิดของมดในสังคมพืชบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

Main Article Content

รุ้งนภา พูลจำปา
เดชา วิวัฒน์วิทยา

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบความหลากชนิดของมดในสังคมพืชประเภทต่างๆ บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยการวางแปลงสำรวจขนาด 30 x 30 ตารางเซนติเมดร สังคมพืชละ 100 แปลง ใน 4 สังคมพืช คือ สังคมพืชป่าผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ สังคมพืชป่าดิบชื้น สังคมพืชป่าดิบแล้ง และสังคมพืชป่าดิบเขา ทำการเก็บข้อมูลเดือนเว้นเดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี ความหลากชนิดของมคในสังคมพืชประเภทต่างๆ จำแนกกลุ่มมดได้ 9 วงศ์ย่อย แยกออกเป็น 59 สกุล 224 ชนิด ซึ่งสังคมพืชป่าเบญจพรรณมีความหลากชนิดของมดมากที่สุด ในขณะที่สังคมพืชป่าดิบเขามีจำนวนชนิดของมดน้อยที่สุด โดยสังคมพืชป่าดิบแล้งมีความหนาแน่นของมอสูงสุด ในขณะที่สังคมพืชป่าดิบเขามีค่าต่ำสุด ในด้านของค่าดัชนีความหลากหลายพบว่าสังคมพืชป่าดิบชื้นกลับมีค่าสูงสุด แต่สังคมพืชป่าดิบเขามีคำต่ำที่สุด สำหรับความสม่ำเสมอของมด สังคมพืชป่าดิบชื้นมีค่ามากที่สุด ในขณะที่สังคมพืชป่าดิบเขามีค่าต่ำที่สุดสำหรับการปรากฏความหลากชนิดของมดและด้านดัชนีความหลากหลาย ในช่วงระยะเวลา 1 ปี พบว่า ในช่วงฤดูฝนจะมีค่าสูงและมีค่าต่ำในช่วงฤดูแล้งในทุกสังคมพืช ส่วนในด้านความหนาแน่นของมด ในช่วงฤดูฝนจะมีค่าสูงกว่าช่วงฤดูแล้ง ยกเว้นสังคมพืชป่าดิบแล้ง และค่าความสม่ำเสมอของมดพบว่า ในช่วงฤดูแล้งจะมีค่าสูงกว่าในฤดูฝนยกเว้นสังคมพืชป่าดิบเขา ส่วนค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันของชนิอมด พบว่าสังคมพืชป่าดิบแล้งมีความคล้ายคลึงกับสังคมพืชป่าดิบชื้นมากที่สุด และสังคมพืชป่าเบญจพรรณกับสังคมพืชป่าดิบเขามีความคล้ายคลึงกันน้อยที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ