การตลาดของหีบศพในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต และการตลาดของหีบศพในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2546 ผู้ผลิตหีบศพทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการรายย่อย วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตหีบศพ ได้แก่ แผ่นไม้ประกอบ และไม้แปรรูปจำนวน 13,995.84 และ 9,119.55 ฟุต3 ตามลำดับหีบศพที่ผลิตได้มีจำนวน 5,026 ลูก ปัญหาที่พบในการผลิตหีบศพ ได้แก่ ขาดเงินทุนหมุนเวียน วัตถุดิบมีราคาแพง กฎระเบียบของทางราชการ ภาษีซ้ำซ้อน และขาดแรงงานที่มีคุณภาพ การวิเคราะห์ส่วนประสมการตลาดพบว่า หีบศพที่จำหน่ายมี 2 ประเภทคือ หีบศพไทยและหีบศพคริสต์ ขนาดของหีบศพมีความยาวอยู่ระหว่าง 183-200 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 45-52 เซนติเมตร และความสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ราคาของหีบศพขึ้นอยู่กับไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหีบศพ วัสดุที่ใช้ตกแต่งหีบศพให้สวยงาม จำนวนชั้นฐานของหีบศพที่เพิ่มขึ้น และขนาดความกว้างของหีบศพที่เพิ่ม การจำหน่ายหีบศพของผู้ผลิตในจังหวัดฉะเชิงเทราพบว่า มีการจำหน่ายให้ร้านค้าปลีกคิดเป็นร้อยละ 91.88 จำหน่ายให้ผู้ซื้อในจังหวัดฉะเชิงเทราร้อยละ 7.76 และจำหน่ายผ่านตัวแทนในจังหวัดฉะเชิงเทราร้อยละ 0.36 การส่งเสริมการตลาดของผู้ผลิตหีบศพ ได้แก่ การบริการขนส่งหีบศพ การให้เครดิตในการชำระเงิน การให้บริการฉีดยาศพ การลดราคาและการแถมใบชา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”