การวิเคราะห์สังคมพืชเพื่อออกแบบการสื่อความหมายธรรมชาติ บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งที่จะออกแบบการสื่อความหมายธรรมชาติในบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติดงติ้ว-มอสิงโต และเส้นทางศึกษาธรรมชาติดงติ้ว-หนองผักชีรวมระยะทางทั้งสิ้น 4.8 กิโลเมตรตำเนินการศึกษาวิจัยในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สังคมพืช 2 ลักษณะคือ ลักษณะเชิงปริมาณ จากการวางแปลงตัวอย่างชั่วคราวอย่างเป็นระบบขนาด 20 x50 ตารางเมตร จำนวน 16 แปลง และลักษณะเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างด้านตั้ง การปกคลุมเรือนยอด และการสำรวจชีพลักษณ์ของพรรณไม้เด่นตามเค้าโครงการสื่อความหมายที่กำหนดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าสังคมพืชในบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นสังคมพืชป่าดิบแล้ง สังคมพืชไร่ร้างที่อยู่ในขั้นตอนของการทดแทนตามธรรมชาติ แบ่งได้ 2 ประเภทตามลักษณะไม้เด่น ได้แก่ ป่าทดแทนที่มีติ้วเกลี้ยงและทะโล้เป็นไม้เบิกนำ ชีพลักษณ์ของพรรณไม้ในเส้นทางธรรมชาติจำนวน 24 ชนิด สำรวจระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมระยะเวลา 12 เดือน พบว่าประกอบด้วยพรรณไม้ ผลัดใบและพรรณไม้ไม่ผลัดใบ มีการเปลี่ยนแปลงของพรรณไม้ตามช่วงฤดูกาล โดยมีจำนวนพรรณไม้ไม่ผลัดใบมากกว่าพรรณไม้ที่ผลัดใบ จึงทำให้เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี ส่วนการออกดอกจะทยอยออกคอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน และออกดอกมากในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูแล้ง หลังจากนั้นก็จะออกผลและผลร่วงลงพื้นดินในต้นฤดูฝน ในการออกแบบการสื่อความหมายผู้วิจัยเลือกใช้ สื่อประเภทคู่มือศึกษาธรรมชาติเป็นตัวกลาง (media) กำหนดเค้าโครงหลัก (overall or main theme) คือสังคมพืชในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และเค้าโครงรอง (subthemes) 5 หัวข้อ ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ไม้ที่มีดอกสวยงาม ไม้ที่มีใบสวยงาม ไม้ที่มีคุณค่าด้านเศรษฐกิจ พืชสมุนไพรและพืชมีพิษ ที่ปรากฏในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”