เปรียบเทียบเทคนิคการประมาณหาดัชนีพื้นที่ผิวใบในสวนป่าตีนเป็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประมาณค่าดัชนีพื้นที่ผิวใบของหมู่ไม้มีหลายวิธี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการหาดัชนีพื้นที่ผิวใบที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีการตัดใบ วิธีการถ่ายภาพเรือนยอด และการใช้เครื่อง Plant Canopy Analyzer โดยดำเนินการศึกษาในสวนป่าตีนเปตอายุ 3 ปี ที่ระดับความหนาแน่นต่างๆ 3 ระดับ คือ 6,400, 1,600 และ 400 ต้นต่อไร่ ในสถานีวิจัยวนเกษตรตราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด ผลการศึกษาพบว่า วิธีการถ่ายภาพจะให้ค่าดัชนีพื้นที่ผิวใบสูงที่สุด เนื่องจากค่าที่วัดได้จากการถ่ายภาพ และการใช้เครื่อง Plant Canopy Analyzer เป็นค่าของดัชนีพื้นที่เรือนยอด เพราะได้รวมเอาส่วนของกิ่งก้านและลำต้นเข้าไปด้วย ค่าที่ได้จึงอาจจะสูงกว่าวิธีการตัดใบซึ่งเป็นค่าของดัชนีพื้นที่ผิวใบโดยตรง อย่างไรก็ตาม การหาดัชนีพื้นที่ผิวในทั้ง 3 วิธี ให้ค่าดัชนีพื้นที่ผิวใบที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความหนาแน่น 6,400 และ 400 ต้นต่อไร่ แต่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความหนาแน่น 1,600 ต้นต่อไร่ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในการประมาณหาดัชนีพื้นที่ผิวใบอาจเลือกใช้วิธีการใดก็ได้หากในแปลงที่ศึกษามีการกระจายของเรือนยอดสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีช่องว่างระหว่างเรือนยอดน้อย แต่หากเรือนยอดไม่สม่ำเสมอ และมีช่องว่างระหว่างเรือนยอดมาก วิธีการตัดใบอาจถือว่าเป็นวิธีการที่ให้ค่าถูกต้องมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการวัดทางตรง หากใช้วิธีการถ่ายภาพและใช้เครื่อง Plant Canopy Analyzer ก็ควรมีการสุ่มตัวอย่างให้กระจายทั่วทั้งพื้นที่ และเพิ่มจำนวนตัวอย่างที่ศึกษาให้มากขึ้นซึ่งวิธีการประมาณหาคัชนีพื้นที่ผิวในทั้ง 3 วิธี มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน และได้วิจารณ์ในการศึกษานี้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”