การมีส่วนร่วมของราษฎรในการควบคุมไฟป่ารอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ของราษฎรที่อาศัยรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเศรษฐกิจสังคมกับการมีส่วนร่วมของราษฎรในการควบคุมไฟป่ารอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทนหัวหน้าครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 323 ราย และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปค่าสถิติที่คำนวณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าราษฎรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.49 ปีในครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ย 5.05 คน ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าป่าไม้คิดเป็นร้อยละ 77.1 ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมีที่อยู่อาศัยอยู่ห่างจากเขตอุทยานแห่งชาติภูเรือน้อยกว่า 2 กิโลเมตร มีที่ดินทำกินติดแนวเขตอุทยานแห่งชาติภูเรือส่วนใหญ่มีจำนวนที่ดินถือครองเป็นของตนเองไม่เกิน 10 ไร่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักครัวเรือนมีรายได้รวมเฉลี่ย 36,570.03 บาท/ปี ใช้ประโยชน์จากป่า โดยเป็นแหล่งเก็บอาหารและของป่าในชุมชนเคยเกิดไฟป่าขึ้นและไฟป่าเกิดเฉลี่ย 5 ครั้ง/ปี เครื่องมืออุปกรณ์ดับไฟป่ามีมีด ขวาน เลื่อย ราษฎรเคยใช้ไฟในการควบคุมวัชพืชและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องไฟป่ามาก จากผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของราษฎรในการควบคุมไฟป่า ได้แก่ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม การได้รับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันไฟป่า การมีอาชีพรอง รายได้รวมของครัวเรือน ระยะห่างของที่ทำกินจากขอบเขตป่า มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องไฟป่า และใช้ไฟเป็นเครื่องมือในการเตรียมพื้นที่การเกษตรเสมอ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”