ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : บ้านคลองทราย ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ หมู่บ้านคลองทราย ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง 65 ครัวเรือน และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าไคสแคว์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งนำเสนอโดยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด และอพยพย้ายมาจากถิ่นอื่น อาชีพหลักคือ ทำไร่ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผู้นำชุมชน ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบ มีทั้งที่เกิดจากประชาชน เช่น ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ได้อย่างเต็มที่ เพราะจำเป็นต้องประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอด และที่เกิดจากหน่วยงานราชการ คือ หน่วยงานของรัฐขาดความจริงใจที่จะช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องควรเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อสร้างฐานความเข้าใจประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังต้องพัฒนาวิธีการ หรือกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนในที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”