การรุกล้ำของพันธุ์ไม้ถาวรเข้าสู่สวนป่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการรุกล้ำของพันธุ์ไม้ถาวรในป่าดงดิบแล้ง (dry evergreen forest) เข้าสู่สวนป่าปลูก เริ่มทำการวิจัยในปี พ.ศ. 2540-2543 ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ. นครราชสีมา โดยอาศัยการวางแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 1 เฮคแตร์ ในป่าดงดิบแล้ง สวนป่ากระถินณรงค์ (Acacia auriculaefornis) และยูคาลิปตัส (Eucalyptus carmaldulensis) แล้วทำการศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงด้านพลวัตของทั้งสามชนิดป่า ผลการศึกษาพบว่าพันธุ์ไม้ถาวรในป่าดงดิบแล้งสามารถรุกเข้ามายึดครองพื้นที่สวนป่าได้ดี และเป็นพรรณพืชเด่นในระดับเรือนยอดชั้นรองและชั้นไม้พุ่ม ที่สำคัญได้แก่ ลำดวน (Melodorum fruticosum) หมักหม้อ (Rothmania winitii) เขลง (Dialium cochinchinessis) มะไฟ (Bacaurea ramiflora) กระเบากลัก (Hydnocarpus tilicifolius) ค้างคาว (Aglaia pirifera) และขันทองพยาบาท (Suregada rmultiflorum) เป็นต้น อย่างไรก็ตามสามารถพบพันธุ์ไม้เด่นในระดับเรือนยอดชั้นบน เช่น ตะเคียนหิน (Hopea ferrea) และเคี่ยมคะนอง (Shorea henryana) เข้ามายึดครองพื้นที่และประสบความสำเร็จในการตั้งตัวในสวนป่าทั้งสองแห่งได้ถึงระดับของไม้วัยรุ่น (sapling) พลวัตทางโครงสร้างของป่าดงดิบแล้งมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งต่างกับสวนป่ากระถินณรงค์และยูคาลิปตัส ที่มีความแตกต่างระหว่างอัตราการตายและการเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีสูงมาก โดยสวนป่ากระถินณรงค์นั้นมีอัตราการเพิ่มพูน (recruitment) สูงกว่าสวนป่ายูคาลิปตัส คือ 8.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และยังมีความคล้ายคลึง (similarity) ระหว่างชนิดพันธุ์ของไม้ในระดับไม้วัยรุ่นและไม้ใหญ่ที่ใกล้เคียงกับป่าดงดิบแล้งมาก แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของพื้นที่ต่อการเอื้อประโยชน์สำหรับการตั้งตัวของพันธุ์ไม้ดั้งเดิมสูงมากกว่าในสวนป่ายูคาลิปตัส อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นที่หน้าตัดของสวนป่ายูคาลิปตัสพบว่ามีค่าสูงกว่าสวนป่ากระถินณรงค์มาก แสดงให้เห็นถึงกำลังผลิตเนื้อไม้ของยูคาลิปตัสนั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่ากระถินณรงค์ ดังนั้นจากคุณสมบัติที่แตกต่างดังกล่าวทำให้การพิจารณาคัดเลือกชนิดพรรณพืชเพื่อใช้ในการปลูกสร้างสวนป่านั้น คำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ 1) การเลือกชนิดพันธุ์ที่ใช้ปลูกนั้นเพื่อเอื้อประโยชน์ในการพัฒนาสภาพพื้นที่เพื่อมุ่งถึงการทดแทนไปสู่ป่าดั้งเดิมของพื้นที่ตามธรรมชาติได้สูง หรือ 2) ต้องการชนิดพันธุ์ที่ให้กำลังผลิตค้านเนื้อไม้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจต้อง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”